Page 314 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 314
G26
ผลลัพธ์การพัฒนา
จากการพัฒนาระบบรายงานโรคเฝ้าระวัง โรงพยาบาลเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ พบว่า การบันทึก
รายงานเข้าสู่ระบบเฝ้าระวังโรคทันเวลา (ภายใน 2 วัน นับจากวันที่พบผู้ป่วย) ในปี 2563 – 2567 คิดเป็น
ร้อยละ 84.39 , 83.50, 85.03, 99.72 และ 100 ตามลำดับ การส่งรายงานให้ทีมควบคุมโรคในพื้นที่สอบสวน
โรคได้ทันเวลาตามที่กำหนด และทีม SRRT ผ่านการประเมินมาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคและภัย
สุขภาพระดับอำเภอ ปี 2566 ระดับพื้นฐาน
อภิปรายผล
1) การส่งรายงานโรคเฝ้าระวัง โดยการพัฒนาระบบสารสนเทศ ช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวัง
โรค มีการคืนข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ท้องถิ่น ชุมชน ทราบ ทำให้
เกิดความตระหนักร่วมกัน อันส่งผลให้การรายงานโรคที่เฝ้าระวัง การควบคุมโรคและการเฝ้าระวังโรคมีความ
ครอบคลุม ทันเวลาและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รู้เร็ว แจ้งเร็ว ควบคุมเร็ว
2) การคืนข้อมูล ส่งต่อข้อมูลไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล รวมถึงเครือข่ายชุมชน
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในรูปแบบที่เหมาะสม จะส่งผลให้การรายงานโรค การควบคุมและป้องกันโรคมีความครอบคุ
ลม ทันเวลาและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
สรุปและข้อเสนอแนะ
1) ควรเพิ่มมาตรการการสร้างความตระหนักแก่ทีมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การทบทวนแนวทางปฏิบัติ
ในการเฝ้าระวังโรค รวมถึงแนวทางการรักษาโรคต่างๆในพื้นที่หรือโรคที่อาจยังไม่พบการระบาด
ในพื้นที่ และการกำกับติดตามให้เกิดการปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้
2) พัฒนาต่อยอดการศึกษาระบบการเฝ้าระวังเฉพาะโรค เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคที่พบ
บ่อยในพื้นที่เพื่อประเมินระบบการเฝ้าระวังโรคและหาแนวทางในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังในลำดับ
ต่อไป