Page 417 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 417
K12
3. จัดกิจกรรมหัวใจสุขภาพ “พันธะสัญญาใจ” คืนข้อมูลให้เด็ก ชื่นชมความสำเร็จ ชี้แนะให้กำลังใจ
และให้รางวัลกับบุคคลต้นแบบ
4. ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม
ผลการศึกษา
1. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 10 ข้อ ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม 5 คะแนนขึ้นไป 8 คน คิดเป็นร้อยละ 26.67
หลังเข้าร่วมกิจกรรม 5 คะแนนขึ้นไป 29 คน คิดเป็นร้อยละ 96.66
2. การประเมินดัชนีมวลกาย (BMI) ของเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรม (ติดตามทุก 1 เดือน)
ครั้งที่ 1 BMI อยู่ในเกณฑ์อ้วนมาก (BMI มากกว่า 30) 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 100
ครั้งที่ 2 BMI อยู่ในเกณฑ์อ้วน (BMI 25-29.90) 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.33 (BMI มากกว่า 30) 23 ราย
คิดเป็นร้อยละ 76.67
ครั้งที่ 3 BMI อยู่ในเกณฑ์อ้วน (BMI 25-29.90) 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.67 (BMI มากกว่า 30) 13 ราย
คิดเป็นร้อยละ 43.33
ครั้งที่ 4 BMI อยู่ในเกณฑ์อ้วน (BMI 25-29.90) 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 86.67 (BMI น้อยกว่า 25) 4 ราย
คิดเป็นร้อยละ 13.33
3. เด็กที่อยู่ในเกณฑ์อ้วนมากได้ให้คำแนะนำ การปรับพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกายและติดตาม
ต่อเนื่องทุก 1 เดือน โดยครูอนามัยโรงเรียน
อภิปรายผล
จากการดำเนินกิจกรรมพบว่าเด็กกลุ่มที่มีภาวะอ้วน มักมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง
มักกินขนมจุกจิก อาหาร Fast food และไม่ออกกำลังกาย กิจกรรมหลังเลิกเรียนมักจะดูทีวีและเล่นเกมส์เป็น
ส่วนมาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมจึงเน้นในเรื่องของอาหาร การอ่านฉลากโภชนาการ รวมถึงการออกกำลังกาย
โดยให้ครู และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำกับติดตาม และประเมินผล พร้อมทั้งเชิดชูให้กำลังใจ ให้รางวัล
เด็กกลุ่มที่ปฏิบัติตัวได้ดีเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนและชุมชนต่อไป
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. ในการดำเนินงานพบว่าเด็กที่สามารถปฏิบัติตัวและมีผล BMI ที่ดี มักจะมีผู้ปกครองมีส่วนร่วมใน
การกำกับดูแล และกระตุ้นให้กำลังใจเด็ก รวมถึงการจัดอาหารให้เด็กรับประทานที่บ้าน และมีกิจกรรมการ
ออกกำลังกายร่วมกับเด็กอย่างต่อเนื่อง
2. ปัญหาที่พบเด็กมักจะมีสมาธิในการรับรู้ระยะสั้น ต้องคอยกระตุ้นให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
บ่อยๆ รวมถึงการติดตามเด็กช่วงปิดเทอมเป็นไปได้ยาก ขาดความต่อเนื่อง
3. จัดทำแผนรองรับเด็กที่มีภาวะ BMI เกิน โดยการประสานและส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
4. ถอดบทเรียนและขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุม รวมทั้งวางแผนติดตามในระยะยาว
ข้อเสนอแนะ
1. เน้นให้เด็กนักเรียนมีความตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพ โดยเสนอให้ อสม.น้อยร่วมกับครูอนามัย
โรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
2. สนับสนุนองค์ความรู้ สื่อด้านสุขภาพ เพื่อเสริมศักยภาพในการจัดการและสร้างความรอบรู้ทางด้าน
สุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
3. รณรงค์ให้ชุมชนและครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการส่งเสริมกิจกรรมทางด้านสุขภาพ
4. ผลักดันให้โรงเรียนเสนอโครงการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพ
ระดับท้องถิ่น
5. ขับเคลื่อนและพัฒนาให้เกิดโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยสุขภาพดี สูงดี สมส่วน