Page 416 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 416
K11
เด็กอ้วนโรงเรียนเทศบาล 3 ในวันนี้ไม่เป็นโรค NCD ในอนาคต
นางสาวพัทยา มาเมืองกล, นางสาวพรนันท์ ชอบจิต และนายณรงค์ศักดิ์ สิงห์สถิตย์
โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา เขตสุขภาพที่ 1
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหา
ปัญหาความอ้วนในเด็กวัยเรียน ปัจจุบันพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
และกิจวัตรประจำวันเปลี่ยนแปลงไป ทั้งในส่วนของการขาดการออกกำลังกายสังคม วิถีชีวิตและการบริโภค
อาหารที่ถูกต้องเหมาะสม เด็กสวนใหญ่มีพฤติกรรมติดหน้าจอมือถือ และใช้เวลาไปกับการดูหน้าจอโทรศัพท์
เป็นระยะเวลานาน อีกทั้งยังพบว่าเด็กอ้วนมีความเสี่ยงต่อทางด้านสติปัญญาและการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
เด็กอ้วนมีแนวโน้มเป็นผู้ใหญ่อ้วนมากถึง 5 เท่า ซึ่งมีความพยายามแก้ไขปัญหาเด็กอ้วนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วน
ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี แต่พบว่ายังคงมีเด็กอ้วน
เพิ่มขึ้น โรงเรียนเทศบาล 3 เป็นอีกโรงเรียนหนึ่งที่พบว่ามีเด็กเริ่มอ้วนและเด็กอ้วนเกินเกณฑ์เป้าหมายร้อยละ
20.18 พบว่าสูงกว่าค่าเป้าหมาย (ไม่เกินร้อยละ 10) จึงร่วมกับโรงเรียนเทศบาล 3 จัดทำโครงการเด็กอ้วน
ในวันนี้ไม่เป็นโรค NCD ในอนาคต
วัตถุประสงค์
เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลด เลี่ยง ต่อการเกิดโรคอ้วนในเด็ก อันจะส่งผลถึงการเจ็บป่วยด้วย
โรค NCD ในอนาคต
วิธีการศึกษา
สำรวจกลุ่มเป้าหมายในเด็กวัยเรียน ในโรงเรียนเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน 3,218 ราย
พบเด็กอ้วนมากที่สุดในโรงเรียน เทศบาล 3 ซึ่งโรงเรียนเทศบาล3 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 263 ราย
จึงคัดเลือกเด็กอายุตั้งแต่ 6–14 ปี ที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไป จำนวน 30 ราย เข้าร่วมโครงการ
กิจกรรมครั้งที่ 1
1. ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและประเมินภาวะโภชนาการ (BMI) โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
วัดรอบเอว รายบุคคล
2. จัดกิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่องโรคอ้วน ความด้านโภชนาการ ฉลากโภชนาการ ธงโภชนาการ
3. จัดกิจกรรมเกมส์สันทนาการ ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย สอนเทคนิคการออกกำลังกายที่
ถูกต้องเหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน
4. ใบงานสำหรับให้เด็กทำกิจกรรม ฝึกคิด ฝึกทักษะและวันทึกการออกกำลังกาย
กิจกรรมครั้งที่ 2 (ติดตามทุก 1 เดือน)โดยการมีส่วนร่วมของ ครู และผู้ปกครอง
1. ประเมินภาวะโภชนาการ (BMI)โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว รายบุคคลเพื่อเปรียบเทียบ
กับครั้งที่ 1
2. จัดกิจกรรมเกมส์สันทนาการ ทบทวนความรู้เรื่องโภชนาการด้านอาหาร และการออกกำลังกาย
3. ให้เด็กตั้งเป้าหมายวางแผนการลดน้ำหนักด้วยตนเอง และการนำไปปฏิบัติได้จริง
กิจกรรมครั้งที่ 3 (ติดตามทุก 1 เดือน)โดยการมีส่วนร่วมของ ครู และผู้ปกครอง
1. ประเมินภาวะโภชนาการ (BMI) โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว รายบุคคลเพื่อเปรียบเทียบ
กับครั้งที่ 2
2. ให้เด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การกำกับตนเองด้านอาหาร การออกกำลังกาย และร่วมกันหา
วิธีการแก้ไขอุปสรรคปัญหาอย่างเหมาะสม