Page 413 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 413

K8

                             การพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

                                            โดยใช้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย


                                                                                   แพทย์หญิงเมธารี ปัญญานรกุล
                                              โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี เขตสุขภาพที่ 5
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความเป็นมาและความสำคัญ
                         โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable  disease ; NCD) เป็นสาเหตอันดับหนึ่งที่ทำให้คนไทย
                  เสียชีวิต และคนไทยมากกว่า 14 ล้านคนกำลังเผชิญกับโรค NCD และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี อำเภอสองพี่น้อง

                  มีประชากรทั้งหมด 125,270 คน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ควบคุมได้และสามารถรับการรักษาที่โรงพยาบาล
                  ส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 6293 คน คิดเป็น 25.3% ของคนไข้ NCD ทั้งหมด
                         ภายหลังการออกประกาศคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอสองพี่น้อง

                  จังหวัดสุพรรณบุรี มีการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. ไป อบจ. ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 รูปแบบการบริการปฐมภูมิ
                  เปลี่ยนแปลงไป ในระยะเปลี่ยนผ่านเพื่อให้ผลกระทบต่อการดูแลรักษาคนไข้กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้รับ
                  ผลกระทบน้อยที่สุด จึงมีแนวคิดในการการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ โดยใช้ภาคี
                  เครือข่ายมีส่วนร่วม ยึดคนไข้เป็นศูนย์กลาง
                         การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เป็นระบบบริการที่พัฒนาขึ้นตามแนววิถีใหม่ (New normal )

                  เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 เนื่องจากปัจจุบันการเชื่อมต่อข้อมูลมีความทันสมัยและ
                  มีความรวดเร็วมากขึ้น แต่ปัญหาคือการเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวอาจยังไม่สามารถเข้าถึงประชากรกลุ่มเปราะบาง
                  เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เป็นต้น ดังนั้น จึงมีแนวคิดการใช้การแพทย์ทางไกลโดยใช้ภาคีเครือข่าย คือ โรงพยาบาล

                  ส่งเสริมสุขภาพตำบล และ อสม. ในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ร่วมกับทีมแพทย์และ
                  พยาบาลของโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 เพื่อช่วยแก้ปัญหา ลดการเดินทาง ลดค่าใช้จ่ายในการ
                  มารับการรักษาพยาบาล ลดความแออัด และลดการรอคอยในโรงพยาบาลและยกระดับการให้บริการปฐมภูมิ
                  ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

                  วัตถุประสงค์

                      1. เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการปฐมภูมิโดยใช้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
                      2. เพื่อเพิ่มความเข้าถึงระบบการแพทย์ทางไกลโดยใช้การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจในการให้บริการ
                  ของภาคีเครือข่าย
                      3. ลดความแออัด ลดระยะเวลารอคอยในโรงพยาบาล

                  วิธีดำเนินการ

                      ขั้นที่1 การวางแผน
                      1. ประชุมแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาระบบปฐมภูมิด้วยการแพทย์ทางไกล โดย ประชุมร่วมกันกับ
                  รพ.สต. เครือข่ายและคัดเลือก รพ.สต ที่มีความพร้อมในด้านบุคลากร และอุปกรณ์ กำหนดจำนวนวัน และ
                  เวลาให้เหมาะสมต่อปริมาณงาน

                      2. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
                  ตำบล ที่อยู่ในเกณฑ์สีเหลืองและสีเขียวและยินยอมรับบริการการแพทย์ทางไกล
                      3. กำหนดแนวทางการให้บริการการแพทย์ทางไกล
   408   409   410   411   412   413   414   415   416   417   418