Page 421 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 421

K16


                        การพัฒนาระบบการจำแนกผู้ป่วยเบาหวาน(Diabetic Patient Classification)
                                    โดยใช้โปรแกรมHIS(Hospital Information Systems)



                  แพทย์หญิงวชิราลักษณ์ โตทอง, นางรุ่งนภา เกียรติรวี, นางสายทอง หาญอินทร์ และนางสาววรรณภา สอนเสือ
                                                   โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก เขตสุขภาพที่ 2
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหา
                         ข้อมูลจาก Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานในเครือข่าย
                  โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีอัตราความชุกเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 6.8 ปี 2561 เป็นร้อยละ 8.5
                  ปี2565 จึงทำให้โรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขที่คุกคามสุขภาพประชาชน เพราะหากผู้ป่วยไม่ได้รับการ

                  ดูแลรักษาที่เหมาะสม จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ข้อมูลจาก Hospital Data base ปี2565
                  พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีภาวะแทรกซ้อนทางไต
                  (Diabetic Nephropathy) ร้อยละ18.87, ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic retinopathy) ร้อยละ10.6 และ

                  โรคหลอดเลือดสมอง (DM with Cerebrovascular disease) ร้อยละ 6.02 ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องตรวจ
                  คัดกรองค้นหาภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเป็นการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
                  หรือลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ตลอดจนป้องกันการเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของ
                  ผู้ป่วยและครอบครัว ลดภาระการบริการและลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มี

                  ภาวะแทรกซ้อน ทั้งในระดับครอบครัวและระดับประเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงได้นำ
                  โปรแกรม HIS (Hospital Information Systems) มาใช้ในการจำแนกความรุนแรงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
                  โดยใช้ข้อมูลจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานมาทำการ
                  ประมวลผลและจำแนกความรุนแรงของโรค

                  วัตถุประสงค์

                         1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ได้รับการจำแนกความรุนแรงของโรค และได้รับการดูแลรักษาตาม (Clinical
                  Practice Guideline : CPG)
                         2. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนตามเกณฑ์

                  วิธีการศึกษา กิจกรรมการพัฒนา
                         Desige

                         1. ทีมแพทย์ พยาบาล ร่วมกันกำหนดเกณฑ์การจำแนกผู้ป่วยเบาหวาน โดยใช้ ข้อมูลการตรวจทาง
                  ห้องปฏิบัติการ และ ข้อมูลภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย
                         2. แผนก IT ออกแบบรายงาน โดยใช้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการการตรวจภาวะแทรกซ้อน

                  การวินิจฉัยตาม ICD-9
                         Action
                         1. แพทย์ พยาบาล ตรวจสอบระดับความรุนแรงของโรคในระบบ HIS รายบุคคล
                         2. แพทย์ พยาบาล ให้การดูแลรักษาตาม Clinical practice guideline (CPG)

                         Learning

                         1. ตรวจสอบการตรวจ Lab DM ถ้ายังไม่ได้ตรวจ ทำการส่งตรวจ
                         2. ตรวจสอบการตรวจภาวะแทรกซ้อน ถ้ายังไม่ได้ตรวจ ทำการส่งตรวจ
   416   417   418   419   420   421   422   423   424   425   426