Page 433 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 433
K28
การพัฒนาระบบการดูแลแบบครบวงจรไร้รอยต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
โดยเครือข่ายสุขภาพอาจสามารถ
นางสาวอังคณารัชต์ แก้วแสงใส
โรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
อำเภออาจสามารถมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 119,132,53 ราย ตามลำดับ (ข้อมูล
สถิติโรคหลอดเลือดสมอง พ.ศ. 2565-2567 (ต.ค.66-มี.ค.67) ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนสูงขึ้นทุกปี โรคหลอดเลือดสมอง
ส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจต่อผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน การพัฒนาระบบบริการ
โรคหลอดเลือดสมองของเครือข่ายบริการสุขภาพในชุมชน โดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ระบบทางด่วน (Stroke
fast tract) ,Stroke awareness, แนวทางการส่งต่อแก่เจ้าหน้าที่ รพ. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. เจ้าหน้าที่กู้ชีพทุกตำบล
(Otos) อสม. CG (Care giver) มีระบบบริการ EMS, โทรศัพท์ 1669 ส่งผลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสามารถ
เข้าถึงระบบบริการทางด่วนได้มากขึ้น และเครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลท้องถิ่นในชุมชนมีส่วนร่วมกันดูแล
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการแบบครบวงจรอย่างไร้รอยต่อ ได้รับการฟื้นฟูสภาพ
ครอบคลุมตามเป้าหมายทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตและลดการเกิดความพิการอย่างถาวร สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ที่ยังหลงเหลือความพิการได้เข้าถึงรับสวัสดิการทางสังคมเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุข
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสามารถเข้าถึงระบบบริการมาตรฐานโรคหลอดเลือดสมอง และ
ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสภาพหลังระยะฟื้นฟูทำให้ลดการเกิดความพิการและอัตราการเสียชีวิต
กิจกรรมการพัฒนา : แนวคิด PDCA ของเดมมิ่ง (Deming,1982)
Plan
1. ประชุมทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระดับโรงพยาบาลและ
เครือข่าย รพ.สต.รวมทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อวิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
2. ชี้แจงระบบริการทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke fast tract ) คือระบบบริการดูแลผู้ป่วยที่
มีอาการแสดงเฉียบพลันได้นำส่งรพ.ด้วยระบบEMS และOtos เข้ารับการตรวจวินิจฉัย ประสานกับแพทย์
เฉพาะทางอายุรกรรมประสาทรพ.จังหวัดและส่งต่อได้รวดเร็วตามแนวทางการดูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแก่
เครือข่ายทุกรพ.สต.และกู้ชีพทุกตำบล
Do
1. จัดทีมสหวิชาชีพติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในระยะฟื้นฟู ประกอบด้วย พยาบาลผู้จัดการรายโรค
เภสัชกร พยาบาลฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักโภชนากร นักแพทย์แผนไทย ร่วมกับเจ้าหน้า รพ.สต. อสม, CG
(Care giver) และอาสาสมัครที่ได้รับการอบรมจาก“ศูนย์มีสุข”ซึ่งจัดตั้งโดยองค์การบริหารส่วนตำบลโหราจาก
แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน Community Based Rehabilitation : CBR (อ้างในทวี เชื้อทวีสุวรรณทวี, 2551)
2. พัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อเนื่องในระยะฟื้นฟูที่ไม่สามารถเดินทางมารับบริการที่
โรงพยาบาลด้วยระบบบริการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
3. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาการกลืนได้รับการประเมินการกลืนโดยพยาบาลฟื้นฟู
4. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับสวัสดิการทางสังคมเพิ่มขึ้น