Page 430 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 430

K25


                               การฟื้นตัวด้านร่างกายของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดสมองในระยะ 1 เดือนแรก


                                       เบญจพร ยินดีสุข, ปรางทิพย์ ฉายพุทธ, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์ และธีรพล วิทธิเวช

                      โรงพยาบาลชลบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เขตสุขภาพที่ 6
                                                                                     ประเภท ผลงานทางวิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหา
                         ผู้ป่วยที่มีปัญหาเนื้องอกสมองและความผิดปกติเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมองพบได้ 5 ล้านรายต่อปี โดย

                  การผ่าตัดสมองเป็นทางเลือกหลักของการรักษาร้อยละ 48 (Dewan et al., 2018; Kanmounye et al., 2021)
                  ทั่วโลกได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดประมาณ 13.8 ล้านคนต่อปี (Zachary et al., 2019) ประเทศเอเชีย
                  ตะวันออกเฉียงใต้มีผู้ป่วยผ่าตัดสมองรายใหม่  3.5  ล้านต่อปี  (Dewan  et  al.,  2018)  ข้อมูลจาก  WHO

                  พบว่าผลลัพธ์หลังผ่าตัดไม่ดีไปกว่ากลุ่มบาดเจ็บศีรษะอุบัติเหตุจากอาการของโรคทางระบบประสาทที่รุนแรง
                  รวมถึงการผ่าตัดทำให้โครงสร้างของเนื้อเยื่อและหลอดเลือดสมองถูกทำลาย เกิดภาวะแทรกซ้อนและมีความ

                  บกพร่องทางระบบประสาทหลังผ่าตัด ส่งผลให้อาการแย่ลงร้อยละ 81 (Zetterling et al., 2020) ทำให้การ
                  ฟื้นตัวและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (Activities of daily living) (Skube et al., 2018; Wilkin

                  et al., 2019) การฟื้นตัวหลังผ่าตัดสมองเกิดขึ้นในช่วง 1 ถึง 3 เดือนแรก (Oda et al., 2018; Nakajima et
                  al., 2019; Nilsson et al., 2019; Paiva et al., 2019) เป้าหมายของการฟื้นตัว คือ ความสามารถในการ

                  ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน หลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องการญาติช่วยดูแลร้อยละ 72 (Lieshout et al., 2020) ญาติดูแล
                  ผู้ป่วยตามความต้องการเพียงร้อยละ 21.27 (Skube et al., 2018)
                           ปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวพบว่าความบกพร่องทางระบบประสาทมีการฟื้นตัวหลังผ่าตัดลดลงร้อยละ 66

                  ฟื้นตัวลดลง 8.55 เท่า (Zetterling et al., 2020; Venkatapura et al., 2020) ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดมี
                  ผลต่อการฟื้นตัว จำนวนภาวะแทรกซ้อนที่มากขึ้นทำให้ฟื้นตัวลดลงร้อยละ 58.5 (Viken et al., 2018; Lucca

                  et al., 2020; Ferroli et al.,2021) นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของ
                  ครอบครัวในระดับต่ำ ส่งผลให้มีการฟื้นตัวหลังผ่าตัดลดลง 2.85 เท่า และมีภาวะพึ่งพาร้อยละ 32.4 (Ouyang

                  et al., 2018) ตลอดจนความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งมีความรอบรู้ด้านสุขภาพใน
                  ระดับต่ำ ส่งผลให้มีการฟื้นตัวลดลงร้อยละ 34.7 (Shlobin et al., 2021; Hälleberg Nyman et al., 2018)

                  รวมถึงความพร้อมของผู้ดูแล ส่วนใหญ่ผู้ดูแลมีความพร้อมในระดับปานกลางร้อยละ 48.6 (ศศิธร อิ่มมณีและ
                  คณะ, 2563) ผู้ดูแลที่มีความพร้อมสามารถทำนายการฟื้นตัวดีขึ้นและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ถึง 60 เท่า
                  (Maggio et al., 2018)

                           การศึกษาด้านฟื้นตัวหลังผ่าตัดสมองส่วนใหญ่เป็นการศึกษาระยะยาว 3-6 เดือน ปัจจัยที่มีการศึกษา
                  ชัดเจน ได้แก่ ตำแหน่งและขนาดของรอยโรค serum albumin โรคประจำตัว การเสียเลือด (Isobe et al.,

                  2018; Kobayashi et al., 2020) ประเทศไทยมีการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่อการทำหน้าที่ของร่างกาย
                  ในกลุ่มผู้ป่วยหลังผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์ (ปภัสสรา มุกดาประวัติ และคณะ, 2555) ยังไม่พบการศึกษา

                  เกี่ยวกับความรุนแรงของโรคหลังผ่าตัด ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแล  ซึ่งไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของการ
                  ฟื้นตัวด้านร่างกายหลังผ่าตัดที่ชัดเจน รวมถึงมีการติดตามการฟื้นตัวด้านร่างกายจากนักกายภาพเป็นส่วนใหญ่

                  ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาปัจจัยส่งผลต่อการฟื้นตัวด้านร่างกายหลังผ่าตัดสมองใน 1 เดือน ทำให้ทราบแนวโน้มการ
   425   426   427   428   429   430   431   432   433   434   435