Page 431 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 431
K26
เปลี่ยนแปลง นำไปสู่การวางแผนจำหน่ายอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อส่งเสริมฟื้นตัวด้านร่างกาย ตลอดจนนำไปสู่
การพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาลที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์การศึกษา
ศึกษาการฟื้นตัวด้านร่างกายหลังผ่าตัดสมองในระยะ 1 เดือนแรก และศึกษาอำนาจทำนายความ
รุนแรงของโรคทางระบบประสาท จำนวนภาวะแทรกซ้อน สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว ความ
รอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแล ความพร้อมในการดูแลของผู้ดูแล ต่อการฟื้นตัวด้านร่างกายหลังผ่าตัดสมองใน
ระยะ 1 เดือนแรก
วิธีการศึกษา
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย (Predictive correlation design)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางประสาทศัลยศาสตร์ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 18 ปี
ขึ้นไป และผู้ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางประสาทศัลยศาสตร์ ทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 182 ราย ตาม
เกณฑ์คัดเข้า ด้านผู้ป่วยดังนี้ 1) ได้รับการรักษาวิธีผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะภายใน 1 เดือนแรก 2) มีสัญญาณ
ชีพปกติขณะทำการศึกษา (HR 60 – 110 bpm, RR 16-24 bpm, SBP 90 – 180 mmHg และ DBP 60 –
110 mmHg. เกณฑ์คัดเข้าด้านผู้ดูแล 1) ผู้ดูแลที่ไม่ได้รับค่าจ้าง 2) รับผิดชอบดูแลเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน
3) สามารถสื่อสารภาษาไทยและติดตามทางโทรศัพท์ได้
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย แบ่งเป็น เครื่องมือที่ใช้กับผู้ป่วย และเครื่องมือที่ใช้กับผู้ดูแล
เครื่องมือที่ใช้กับผู้ป่วย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสุขภาพ แบบประเมินความรุนแรงของ
โรคทางระบบประสาท แบบประเมินการทำกิจวัตรประจำวัน (Barthel Index) เครื่องมือที่ใช้กับผู้ดูแลได้แก่
แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบคัดกรองความบกพร่องทางการรู้คิดในผู้ดูแลที่อายุ > 60 ปี (Mini-Cog)
แบบสอบถามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว (รายได้ครอบครัว) แบบสอบถามความรอบรู้
ด้านสุขภาพของผู้ดูแล (Health Literacy Questionaries) แบบประเมินความพร้อมของผู้ดูแลในการดูแล
วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) แจกแจงจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน วิเคราะห์อำนาจทำนายโดยใช้สถิติถดถอยเชิงพหุ (Multiple logistic regression)
ผลการศึกษา
ความรุนแรงของโรคทางระบบประสาท มีอิทธิพลต่อการฟื้นตัวด้านร่างกายของผู้ป่วยหลังผ่าตัด
สมองในระยะ 1 เดือนแรก [Exp (B) = 24.91, p <.001] จำนวนภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดมากว่า 9 ชนิด
มีการฟื้นตัวด้านร่างกายหลังผ่าตัดลดลง (Exp (B) = 5.63, p < .031) สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของ
ครอบครัว ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแล ความพร้อมในการดูแลของผู้ดูแลนั้นไม่มีอิทธิพลต่อการทำนาย
การฟื้นตัวด้านร่างกายของผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองในระยะ 1 เดือนแรก
อภิปรายผล
ความรุนแรงของโรคทางระบบประสาทมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการฟื้นตัวด้านร่างกายหลังผ่าตัด
สมองในระยะ 1 เดือนแรก เนื่องจากการผ่าตัดทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อสมอง หลอดเลือดที่เกี่ยวข้อง
และระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของสมอง ทำให้การทำหน้าที่ของสมองผิดปกติ เกิดภาวะแทรกซ้อน
และความบกพร่องทางระบบประสาทหลังผ่าตัด เช่น ปัญหาการเคลื่อนไหว การทรงตัว อาการอ่อนแรง
การมองเห็น การสื่อสาร การกลืน ที่ผิดปกติ เวียนศีรษะ การรับความรู้สึกและระดับความรู้สึกตัวที่ลดลง เป็นต้น