Page 428 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 428
K23
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านการดูแลผู้ป่วย Ischemic Stroke ที่เข้า Stroke Fast Track
ก่อนและหลังการใช้งาน Mobile Stroke Rayong Application ได้แก่ อัตราการเสียชีวิต, Door to Needle
Time, Door to CT และ อัตราการเข้าถึงระบบ Stroke Fast Trac
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งาน Mobile Stroke Rayong Application
วิธีการศึกษา
1. ศึกษาปัญหาและจัดทำ Mobile Stroke Rayong Application
2. แนะนำการใช้งานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจาก รพ. ระยอง และ รพช.ทุกแห่งในจังหวัดระยอง รวม 9 แห่ง
3. กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่เข้าระบบ Stroke Fast Track ทั้งหมด โดยจะถูก tracking เมื่อมาถึง รพ.
ต้นทาง ผ่านสมาร์ทโฟน รพ.ปลายทางจะเห็นข้อมูลคนไข้ด้วยและสามารถเตรียมความพร้อมในการรับผู้ป่วย
4. เมื่อผู้ป่วยมาถึงจุดต่างๆ แค่กดเวลาจะขึ้นแบบ Real Time และคำนวณเวลาให้ ว่าแต่ละจุดใช้
เวลานานเกินกำหนดหรือไม่ (สามารถลงข้อมูล ตั้งแต่เวลาที่เริ่มมีอาการ, ส่งต่อ, CT, Consult, ให้ยา rt-PA,
พิจารณาส่งทำ Thrombectomy หรือไม่)
5. สามารถเก็บข้อมูล และเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้
6. สามารถคำนวณเวลา Door to Needle Time และอื่นๆ โดยสามารถเรียกดูเป็น PDF หรือ Excel
7. ใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาตัวชี้วัดก่อน-หลังการใช้งาน Application ได้แก่ อัตราการเสียชีวิต,
Door to Needle Time, Door to CT, อัตราการเข้าถึงระบบ SFT และความพึงพอใจของผู้ใช้งาน
ผลการศึกษา
ก่อน หลัง
ตัวชี้วัด เกณฑ์
2563 2564 2565 2566
อัตราการเสียชีวิต <5% 3.2 4.85 3.76 4.75
Door to Needle Time 45 นาที 40 42 42 36
Door to CT Result 20นาที 18 17 16 13
อัตราการเข้าถึงระบบ SFT ≥50% 37.4 32 28 41.3
ความพึงพอใจผู้ใช้ Application ≥ 80% - - 80 88
*ก่อน หมายถึง ก่อนการใช้งาน Application ปีงบประมาณ 2563, 2564