Page 448 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 448
K43
ผลการศึกษา
จากการดำเนินงานตามแผนงานและวิธีการดังกล่าวพบว่า อัตราการเกิด STROKE ในผู้ป่วยความดัน
โลหิตสูงลดลง จำนวนผู้ป่วยลดลง
ร้อยละ อัตราการเกิด STROKE ในผู้ป่วยความดันโหิตสูง
3
2.45
2.5 2.09
2 1.57 1.74
1.5 1.33
1
0.5
0
ก่อนพัฒนา ปี62 ระยะที่1 ปี63 ระยะที่2 ปี64 ระยะที่3 ปี65 ระยะที่4 ปี66
อภิปรายผล
ผลการดำเนินงานระยะที่ 1 พบว่า การรับรู้ตนเองยังน้อย และช่วงโควิดมีการส่งยาให้ทางไปรษณีย์
ทำให้การเข้าถึงบริการลดลง อัตราการเกิด STROKE จึงลดลงแต่ควบคุมความดันได้ดียังน้อย ร้อยละ 26.99
ในระยะที่ 2 การรับรู้ตนเองเพิ่มขึ้นแต่ขาดความต่อเนื่องของการใช้สมุดประจำตัวเนื่องจากบางคนลืม และ
ขาดนัดยังเข้าใจผิดว่ามีการส่งยาให้ทางไปรษณีย์ ควบคุมความดันได้ดีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.45 ระยะที่ 3 พบว่า
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในผู้สูงอายุค่อนข้างมีขีดจำกัด เนื่องจากบางคนไม่มีสมาร์ทโฟนและไม่มีญาติมา และ
ขาดการติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ควบคุมความดันได้ดีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 54.78 ระยะที่4 มีการปรับปรุง
แนวทางติดตามผู้ป่วยขาดนัด พบว่า อัตราการการติดตามผู้ป่วยขาดนัดให้มาตามนัดเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ12.5
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. การมีผู้นำและหัวหน้าทีมที่เข้มแข็ง กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและปฏิบัติในแนวทางเดียวกันทำให้
การทำงานบรรลุเป้าหมาย
2. การดูแลผู้ป่วยต้องได้รับความร่วมมือจากญาติและชุมชน เพื่อสร้างความตระหนักและมีผู้ดูแลที่
สามารถดูแลต่อเนื่อง
3. มีทีมสหวิชาชีพที่เข้มแข็งร่วมกันการวางแผน ปรับปรุงกำหนดแนวทางต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
4. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในผู้สูงอายุค่อนข้างมีขีดจำกัด เนื่องจากไม่มีสมาร์ทโฟนและบางคนไม่มีญาติมา
จึงได้เพิ่มช่องทางการติดต่อโดยใช้แอป หมอพร้อม สแกนในบัตรนัด เพื่อญาติสามารถดูประวัติผู้ป่วยและวันนัดได้