Page 453 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 453

L2

                  แผนเชิงรุก เพื่อกำกับ และติดตามหน่วยบริการดังกล่าว การดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย 1.6 Skills : เพิ่ม

                  ศักยภาพบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยโดยมีการจัดอบรมการวิจัยทั้งหมด 4 ระยะ และจัดประชุม Case
                  Study ด้านการแพทย์แผนไทย เป้าหมาย แพทย์แผนไทยที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ มีอาจารย์
                  วิพากษ์ 2 ท่าน ได้แก่ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี และแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาล

                  บ้านผือ 1.7 Shared value: ค่านิยมร่วมกันในองค์กร “การเข้าถึง /ครอบคลุม /คุณภาพ /ความปลอดภัย”
                  เน้น Healthy City Model
                         (2) PESTLE Analysis ได้แก่ 2.1 Political: จังหวัดมีการขับเคลื่อนงานตามนโยบายของกระทรวง
                  สาธารณสุข และสอดคล้องตามตัวชี้วัดกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เน้นการส่งเสริม และ
                  ป้องกันโรคด้วยการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร 2.2 Economics: พัฒนาระบบ supply chain มีโรงพยาบาล

                  ห้วยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ผลิตยาสมุนไพร GMP เพื่อผลิตยาสมุนไพรสนับสนุนหน่วย
                  บริการทุกระดับ 2.3 Social: การจัดอบรม และประชุมแลกเปลี่ยนการบันทึกข้อมูล E-Claim สปสช. ให้
                  ครบถ้วนถูกต้องทั้งในรูปแบบ Online และ Onsite 2.4 Technology: ใช้ระบบสารสนเทศ HDC กระทรวง

                  สาธารณสุข และไลน์กลุ่มเพื่อกำกับ ติดตามงานให้บรรลุเป้าหมาย 2.5 Law/Legal รัฐธรรมนูญแห่ง
                  ราชอาณาจักรไทย 2560 มาตรา 55 รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ
                  อย่างทั่วถึงเสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และส่งเสริม
                  และสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงพระราชบัญญัติระบบ
                  สุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562  2.6 Environment: การนำสมุนไพรท้องถิ่นไปดูแลสุขภาพของประชาชนได้ เน้น

                  สมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐาน และมีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ การสร้างนวัตกรรมโดยใช้พืชสมุนไพรใน
                  ท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด การวิเคราะห์ข้อมูล ประมวลผลโดยอ้างอิงข้อมูลจาก HDC
                  กระทรวงสาธารณสุข ร้อยละของผู้ป่วยนอกที่มารับบริการในระดับปฐมภูมิได้รับการรักษาด้วยการแพทย์แผน

                  ไทยและการแพทย์ทางเลือก เปรียบเทียบการดำเนินงานปีงบประมาณ 2566 ก่อนพัฒนาระบบ และ
                  ปีงบประมาณ 2567 หลังพัฒนาระบบ

                  ผลการศึกษา
                         จังหวัดอุดรธานี ได้กำหนดแนวการให้บริการด้วยการแพทย์แผนไทย และแผนการออกเชิงรุกร่วมกับ
                  ทีมสหวิชาชีพผ่านกลไก 3 หมอ โดยเฉพาะการออกพื้นที่เชิงรุกในหน่วยบริการนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

                  อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงเรียน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานประเด็นร้อยละของผู้ป่วยนอกที่มารับ
                  บริการในระดับปฐมภูมิได้รับการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในปีงบประมาณ 2566
                  เปรียบเทียบกับ ปีงบประมาณ 2567 (ข้อมูล HDC กระทรวงสาธารณสุข ณ 29 มีนาคม 2567)  ดังนี้
                         1. ร้อยละของผู้ป่วยนอกที่มารับบริการในระดับปฐมภูมิได้รับการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยและ
                  การแพทย์ทางเลือกเพิ่มจากร้อยละ 41.09 เป็นร้อยละ 53.65 และมีผลงานเป็นอันดับที่ 1 ของเขตสุขภาพที่ 8

                         2. อำเภอที่มีผลงานผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 45 (ปี 66 จำนวน 9 แห่ง และปี 67 จำนวน 16 แห่ง)
                         3. มี CPG แนวทางการให้บริการด้วยการแพทย์แผนไทยที่จัดทำร่วมกันกับทีมสหวิชาชีพ
   448   449   450   451   452   453   454   455   456   457   458