Page 449 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 449

K44


                   การพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน อ.เมืองยะลา

                    Development of Service access system of Stroke patients in the community of

                                                    Muang Yala District


                                                                                             ปฐมพงศ์ และคณะ
                                                                     โรงพยาบาลยะลา จังหวัดยะลา เขตสุขภาพที่ 12
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความสำคัญของปัญหา
                         โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นโรคทางระบบประสาทที่มีความรุนแรง และเป็นปัญหาสาธารณสุข
                  ที่สำคัญระดับโลก การให้ความช่วยเหลือตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการภายใน 270 นาทีหรือ 4 ชั่วโมงครึ่ง ถือเป็น

                  นาทีทองของการรักษาเพราะจะสามารถทำให้ผู้ป่วยพ้นจากสภาพอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ ปี 2565
                  ในเขต อ.เมืองยะลา มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้าสู่บริการในโรงพยาบาลยะลา จำนวน 1,518 ราย เสียชีวิต
                  151 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.94

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อลดระยะเวลาในการทำเวชระเบียน

                         2. ลดระยะเวลา Triage
                         3. เพิ่มความรอบรู้ทางด้านโรคหลอดเลือดสมองในเรื่องการเฝ้าระวังและการส่งต่อจากปัญหาดังกล่าว
                  จึงได้พัฒนาระบบการเข้าถึงบริการสำหรับ โดยใช้กรอบแนวคิด Donabedian, 2023

                  วิธีการศึกษา

                         การวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ดำเนินการพัฒนา
                  ระบบการเข้าถึงบริการสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน อ.เมืองยะลา แบ่งเป็น 4 ระยะ
                  ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การสำรวจ ค้นหาและสอบถามปัญหาการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
                  และครอบครัว จำนวน 100 ครอบครัว โดยใช้แบบสอบถามลัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้นำชุมชนและอาสาสมัคร
                  สาธารณสุข 20 คน ระยะที่ 2 พัฒนาระบบการเข้าถึงบริการสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน

                  ระยะที่ 3 ทดลองใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นและระยะที่ 4 ปรับปรุงระบบโดยนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินในระยะ
                  ทดสอบมาใช้ปรับปรุงทำให้ได้การพัฒนาได้ทุกทีม

                  ผลการศึกษา
                         พบว่า (1) ความรอบรู้ทางด้านโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มอาสาสมัครสาธรณสุขก่อนและหลังพัฒนา

                  มากขึ้น ร้อยละ 80 (2) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 ถึง เมษายน 2566 จำนวน
                  23 ราย ที่เข้าสู่ระบบบริการ ผ่านแอพพลิเคชั่น Stroke Alert ที่พัฒนาขึ้น จากกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
                  ในชุมชนที่ได้รับการเฝ้าระวังและการติดสติ๊กเกอร์ Stroke จำนวน 200 ราย (3) ลดระยะเวลาที่ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
                  โรคหลอดเลือดสมองในชุมชนเข้าสู่โรงพยาบาลยะลา ดังนี้ 1) Door to ER จากเดิม 8.25 ลดลง 4.91 (ชั่วโมง)

                  2) Door to Docter) จากเดิม 35 ลดลง 5 (นาที) 3) Door to Needle 92 ลดลง 42 (นาที)

                  อภิปรายผล
                         การวิจัยและพัฒนาครั้งนนี้ แสดงให้เห็นว่า "วิจัยการพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการสำหรับผู้ป่วย
                  โรคหลอดเลือดสมองในชุมชน อ.เมืองยะลา " มีผลลัพธ์เชิงบวกหลายประการ ดังนี้ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
   444   445   446   447   448   449   450   451   452   453   454