Page 452 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 452
L1
การพัฒนารูปแบบความสำเร็จ (Best Practice) งานแพทย์แผนไทยเชิงรุก
ในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ผ่านกลไก 3 หมอจังหวัดอุดรธานี
เภสัชกรสมชาย ชินวานิชย์เจริญ นายอภิวัฒน์ ทักโลวา และเภสัชกรหญิงรสมาลิน อินตายวง
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เขตสุขภาพที่ 8
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การดำเนินงานการจัดบริการแพทย์แผนไทยพบว่าการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการ
ระดับปฐมภูมิยังเข้าถึงได้น้อย โดยเฉพาะหน่วยกลุ่มบุคลากรของหน่วยงานนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน และหน่วยงานราชการอื่น ๆ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ดังนั้น
ปีงบประมาณ 2567 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมกันกำหนด
เป้าหมายและแนวทางพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนให้สอดคล้องกับนโยบายเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการ
แพทย์แผนไทยอย่างครอบคลุมมีคุณภาพ และปลอดภัยมากขึ้น โดยขับเคลื่อนผ่านกลไก 3 หมอ และ
คณะทำงานขับเคลื่อน
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพของการดำเนินงานด้านการแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการระดับปฐม
ภูมิ โดยใช้หลักทบทวนปัจจัยภายใน 7-S (Mckinsey 7S Model) และปัจจัยภายนอก PESTLE Analysis
วิธีการศึกษา
รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) โดยใช้หลักการ
(1) 7-S ได้แก่ 1.1 Structure: จัดโครงสร้างการแต่งตั้งคณะทำงานระดับจังหวัดและประกาศนโยบาย
การขับเคลื่อนงานแจ้งให้ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ทราบและถือปฏิบัติ การกำหนด Project
Manager ซึ่งเป็นคณะทำงานเพื่อกำกับดูแลเป็นภาพ คปสอ. แบ่งเป็นโซนที่ 1 - 4 1.2 Strategy: ประชุมผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ปัจจัยภายในโดย 7S’s Model การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกโดย PEST Analysis
และวิเคราะห์ TOWS Matrix เพื่อกำหนดกลยุทธ์ และวางแผนกลยุทธ์ fast tract target งานแพทย์แผนไทย
ในหน่วยบริการปฐมภูมิในรูปแบบ House Model เป้าหมาย ร้อยละ 45 ผ่านเกณฑ์ทุกอำเภอ 1.3 System:
บูรณาการทำงานแพทย์แผนไทยร่วมกับทีมสหวิชาชีพผ่านกลไก 3 หมอ (อสม./แพทย์แผนไทยและทีมสห
วิชาชีพ/แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว) เพื่อกำหนด CPG การออกให้เชิงรุกเพื่อดักคนไข้ที่อยู่พื้นที่ห่างไกลโดยฉพาะก
ลุ่ม PC, LTC การลดแออัด ลดรอคอยที่โรงพยาบาล รวมถึงการกำหนดแผนออกพื้นที่เชิงรุกในหน่วยบริการ
นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงเรียน เป็นต้น 1.4 : Styles :
ผู้บริหารระดับจังหวัด โดยนายแพทย์สาธารณสุขให้รายงานผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลแต่ละพื้นที่ทุกเดือน
1.5 Staff : มีแพทย์แผนไทยที่รับผิดชอบระดับอำเภอ โดยเฉพาะในหน่วยบริการที่ไม่มีแพทย์แผนไทยจะมีการจัด