Page 501 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 501
L50
2. ขอบเขตด้านพื้นที่ ศึกษาเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอาการปวดจากข้อเข่าเสื่อม ที่มารับบริการกับคลินิก
ผู้สูงอายุเชิงรุก โรงพยาบาลพังโคน อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลพังโคน ตำบลพังโคน จังหวัด
สกลนคร
3. ขอบเขตด้านเวลา เริ่มดำเนินการที่คลินิกผู้สูงอายุเชิงรุก โรงพยาบาลพังโคน ตั้งแต่ วันที่ 1
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
การดำเนินการ
1. เก็บข้อมูลการค่าความเจ็บปวดเข่าของกลุ่มตัวอย่าง ประเมินความเจ็บปวดโดยพยาบาล
วิชาชีพ คลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลพังโคน
2. พอกสมุนไพรพอกเข่าในกลุ่มตัวอย่างโดยแพทย์แผนไทย จำนวน 5 ครั้ง ภายในเวลา 5 สัปดาห์
สูตรสมุนไพรพอก ประกอบด้วย กลุ่มผงยาพอกเข่า มี ไพลผง 1,000 กรัม ขมิ้นชันผง 1,000 กรัม ขิงผง 500
กรัม เถาวัลย์เปรียงผง 500 กรัม เถาเอ็นอ่อน 500 กรัม กระดูกไก่ดำผง 500 กรัม ดองดึงผง 500 ดินสอพอง
1,000 กรัม นำมาผสมให้เข้ากัน นำมาแบ่งบรรจุใส่ถุงซิปล็อคให้ได้ขนาดถุงละ 30 กรัม วิธีใช้ผสมน้ำเปล่า
สะอาดพอเปียก แล้วนำมาพอกให้ทั่วหัวเข่าข้างที่ปวด ทิ้งไว้ 15 นาทีจนแห้งสนิท ประเมินความเจ็บปวดก่อน
และหลังการพอกเข่าทุกครั้งแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยอาการปวด
3. หลังพอกครบ 5 ครั้ง ประเมินความคิดเห็นต่อสมุนไพรพอกเข่าบรรเทาปวดในกลุ่มตัวอย่าง
และนำข้อมูลที่ได้มาวิคราะห์
4. ประชาสัมพันธ์และขยายผล นวัตกรรมสมุนไพรพอกเข่าในผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการ
ดูแล
ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีอาการปวดจากข้อเข่าเสื่อมในพื้นที่อำเภอพังโคน ต่อไป
ผลการศึกษา
ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้ข้อมูล พบว่า ส่วนใหญ่เป็นหญิง (ร้อยละ 54.07) อายุระหว่าง 60-69 ปี (ร้อยละ
62.21) ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 88.75) สถานภาพสมรส (ร้อยละ 78.49) และรายได้
ต่อเดือนที่ได้รับระหว่าง 1,000-3,000 บาท (ร้อยละ 55.81) ตามลำดับ
การประเมินระดับความเจ็บปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุในคลินิกผู้สูงอายุเชิงรุก โรงพยาบาลพังโคน พบว่า
ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดก่อนการใช้สมุนพอกเข่าเท่ากับ 4.73 หลังจากได้มีการพอกเข่าติดต่อกัน 5 ครั้ง
พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดหลังการใช้สมุนไพรพอกเข่าลดลงเป็น 3.28 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย พบว่า
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < .01)
ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการใช้สมุนไพรพอกเข่าในคลินิกผู้สูงอายุเชิงรุก โรงพยาบาลพังโคน
ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 172 ราย พบว่า ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อด้านการดูแลสุขภาพของสมุนไพร
พอกเข่า พบว่า อยู่ในระดับดี (xˉ=4.15) เช่นเดียวกันกับด้านการได้รับประโยชน์จากการรับบริการคลินิก
ผู้สูงอายุเชิงรุก พบว่า อยู่ในระดับดี (xˉ=4.28) ซึ่งส่งผลต่อดีผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการปวดเข่า และการพัฒนา
รูปแบบการดูแลส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุที่มารับบริการที่คลินิกผู้สูงอายุเชิงรุก โรงพยาบาลพังโคน
อภิปรายผล
จากการดำเนินการงาน พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอาการเข่าเสื่อม มีความยากลำบากและไม่สะดวกเดินทาง
มารับบริการคลินิกผู้สูงอายุ ที่โรงพยาบาลพังโคน ทำให้ต้องมีการปรับแผนการให้บริการในรูปแบบเชิงรุก การ
นำนวัตกรรมสมุนไพรพอกเข่ามาใช้ในการดูแลปัญหาปวดเข่า เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาอาการ
ปวดเข่าและสร้างความพึงพอใจแก่ผู้สูงอายุ ก่อนได้รับการส่งต่อเพื่อเข้ารับบริการคลินิกผู้สูงอายุของ
โรงพยาบาลพังโคน และพบแพทย์ประจำคลินิกผู้สูงอายุในรายที่ต้องได้รับการดูแลรักษาต่อไป