Page 506 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 506

L55


                         โปรแกรมบันทึกบริการแพทย์แผนไทย NanaMassage Registration


                                                              นายนพดล แสงเพชร และนางสาวปานนลินฐ์ ยงขามป้อม
                                                         โรงพยาบาลปากช่องนานา จังหวัดนครราชสีมา เขตสุขภาพที่ 9

                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

                  ความสำคัญของปัญหา

                         งานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกโรงพยาบาลปากช่องนานา เดิมมีระบบบันทึกการให้บริการ
                  การนัดหมาย ตารางเวรปฏิบัติงาน ทะเบียนการมารับบริการโดยใช้กระดาษในการบันทึกข้อมูล ซึ่งพบปัญหา
                  ความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลการนัดหมายและการให้บริการบ่อยครั้ง เช่น การจองรับบริการผิดรอบ
                  การนัดผิดวัน การระบุผู้นวดซ้ำคนในช่วงเวลาเดียวกัน การบันทึกข้อมูลด้วยลายมือไม่ชัดเจน ข้อมูลไม่ครบหรือ
                  บันทึกผิดพลาด เป็นต้น ก่อให้เกิดปัญหาในการติดตามผู้มารับบริการไม่ได้ ทำให้ผู้รับบริการเสียโอกาสในการรับบริการ

                  เกิดเป็นปัญหาความไม่พึงพอใจในผู้รับบริการ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อผู้รับบริการ ผู้ปฏิบัติงานและองค์กร
                         ทั้งนี้จากการทบทวนปัญหาพบว่า ระบบการเข้าถึงข้อมูลขาดความรัดกุม ง่ายต่อการเกิดข้อผิดพลาด
                  ได้แก่ ปัญหาการลงข้อมูลจองรับบริการโดยผู้ที่ไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง พบปัญหาจากการผู้รับบริการ

                  ลงข้อมูลจองด้วยตนเอง การลงทะเบียนผู้มารับบริการไม่ครบถ้วน มีผลต่อการบันทึกรายรับประจำวันที่ไม่ครบถ้วน
                         จากปัญหาข้างต้นทีมผู้จัดทำจึงต้องการพัฒนาโปรแกรมการบันทึกบริการแพทย์แผนไทย ได้แก่
                  การนัดหมายออนไลน์และการบันทึกข้อมูลการรับบริการ ที่ถูกต้องและสะดวกต่อผู้มารับบริการ และผู้ปฏิบัติงาน
                  ลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1. เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถจองรับบริการนวดไทยได้สะดวกและถูกต้องแม่นยำ
                         2. เพื่อเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติงาน ลดขั้นตอนความยุ่งยาก ซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน
                         3. ป้องกันข้อผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลและการจองรับบริการของแพทย์แผนไทย

                  วิธีการศึกษา
                         วิธีดำเนินการโดยใช้แนวคิด PDCA แบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่

                  3.1 Plan
                      •  วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการทำงานร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงาน โดยรวบรวมจากรายงานอุบัติการณ์และ
                         จากการระดมความคิดเพื่อรวบรวมปัญหา
                      •  วางระบบและกำหนดความต้องการของผู้รับบริการและผู้ปฏิบัติงาน
                  3.2 Do

                      •  กำหนดหัวข้อและเงื่อนไขในการบันทึกข้อมูลจองรับบริการ เพื่อออกแบบตารางการจอง
                      •  ทดลองสร้างโปรแกรมการจองรับบริการ ด้วย Excell พบปัญหาด้านข้อจำกัดในการทำงานของ
                         Excell ที่ไม่สามารถพัฒนาต่อได้

                      •  นำปัญหาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับรูปแบบเป็นระบบการจองผ่านเว็บไซต์
                      •  สร้างโปรแกรมการจองและลงทะเบียนรับบริการแพทย์แผนไทย โดยผู้มีความรู้ความชำนาญ
                  3.3 Check
                      •  จำลองการใช้โปรแกรมด้วยระบบIntranet ควบคู่กับการใช้งานระบบเดิม เป็นระยะเวลา 1 เดือน เพื่อ
                         ค้นหาปัญหาและพัฒนาโปรแกรมต่อเนื่อง
   501   502   503   504   505   506   507   508   509   510   511