Page 503 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 503
L52
การพัฒนาระบบการให้บริการคลินิกแพทย์แผนไทยเคลื่อนที่ โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์
นายวิเชียร มิตรมาตร นางสุนันทา สนั่นนารี และนางสาวธวัลรัตน์ น้อยดี
โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญและส่งเสริมให้มีงานบริการด้านการแพทย์แผนไทย
ในสถานบริการของภาครัฐทุกแห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงงานบริการได้ง่ายขึ้น มีแนวทาง
การเชื่อมโยงการให้บริการแพทย์แผนไทยกับการแพทย์แผนปัจจุบัน และมีการประสานความร่วมมือกับ
บุคลากรสาธารณสุขทั้งจากโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และศูนย์สุขภาพชุมชน
โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง (F1) 60 เตียง ให้บริการจริง 77 เตียง
มีเครือข่ายบริการสุขภาพ รพ.สต. จำนวน 15 แห่ง รับผิดชอบประชากร จำนวน 106,818 คน มีให้บริการ
งานแพทย์แผนไทย เช่น การตรวจวินิจฉัยโรค การเวชปฏิบัติ การใช้ยาสมุนไพร การนวดรักษา ประคบสมุนไพร
อบไอน้ำสมุนไพร การดูแลมารดาหลังคลอด และการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย เป็นต้น
จากการวิเคราะห์ปัญหา พบว่า ผู้มารับบริการงานแพทย์แผนไทยมีจำนวนน้อยและไม่ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด
ของกระทรวงสาธารณสุข เกณฑ์ร้อยละ 20 ในปีงบประมาณ 2565 มีผู้มารับบริการงานแพทย์แผนไทย คิดเป็น
ร้อยละ 10.00 (ข้อมูลจากระบบ HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ, 2565) เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้รับบริการ
อยู่ในพื้นที่ชนบท ห่างไกลโรงพยาบาล การเดินทางเข้ามารับบริการมีความยากลำบาก ทำให้ขาดโอกาสในการเข้าถึง
งานบริการคลินิกแพทย์แผนไทย กอปรกับในเครือข่ายบริการสุขภาพ รพ.สต. มีให้บริการงานแพทย์แผนไทย
เฉพาะการสั่งใช้ยาสมุนไพรตามกรอบบัญชียาสมุนไพรของ รพสต. จำนวน 12 รายการ ยังไม่มีการให้บริการ
นวดรักษา ประคบสมุนไพร อบไอน้ำสมุนไพร และการดูแลมารดาหลังคลอด จึงทำให้ศักยภาพในการดำเนินงาน
ด้านการแพทย์แผนไทยไม่บรรลุตามเป้าหมาย กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกโรงพยาบาล
เกษตรสมบูรณ์ ได้เห็นถึงความสำคัญของการให้บริการงานแพทย์แผนไทยสำหรับผู้รับบริการที่เข้าถึงยากลำบาก
จึงได้พัฒนาระบบการให้บริการคลินิกแพทย์แผนไทยเคลื่อนที่ขึ้น เพื่อออกให้บริการแก่ผู้รับบริการในพื้นที่
ห่างไกลโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการคลินิกแพทย์แผนไทยเคลื่อนที่ โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ ร่วมกับ
เครือข่าย รพ.สต.
- เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการให้บริการงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร้อยละ 20
- เพิ่มการสั่งใช้ยาสมุนไพร ร้อยละ 10
- เพื่อเพิ่มมูลค่าการให้บริการงานแพทย์แผนไทย
วิธีการศึกษา
1. ประชุมทีมคณะทำงาน ค้นหา ทบทวนผลการดำเนินงาน และวิเคราะห์โอกาสในการพัฒนา
เพื่อเพิ่มการเข้าถึงงานบริการคลินิกแพทย์แผนไทยเคลื่อนที่
2. จัดเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรให้บริการ ด้านเวชภัณฑ์ยาสมุนไพร และด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศ
3. จัดทำแนวทางและมาตรฐานการให้บริการคลินิกแพทย์แผนไทยเคลื่อนที่ ออกให้บริการใน รพ.สต.