Page 497 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 497
L46
ผลการใช้ตำรับยาประสะจันทน์แดงเพื่อลดปิตตะในผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
นางสาวธารนรินทร์ แก้วสีขาว
โรงพยาบาลโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ เขตสุขภาพที่ 8
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
สถานการณ์ Palliative Care ทั่วโลกโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เปิดเผยว่าแต่ละปีจะมีผู้ป่วย
ระยะสุดท้ายราว 40 ล้านคน แต่มีเพียง 14% ที่ได้รับการดูแลแบบ Palliative care โดยแบ่งเป็นประเภทของโรค
ดังนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด 38.5% โรคมะเร็ง 34% โรคด้านระบบทางเดินหายใจ 10.3% และกลุ่มโรคอื่น ๆ
อาทิ ไตวาย โรคตับเรื้อรัง โรคปลอกประสาทเสื่อม พาร์กินสัน เป็นต้น ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้ายส่วนใหญ่
มักต้องเผชิญกับอาการเจ็บปวด วิตกกังวล อ่อนเพลีย ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันจะใช้ยากลุ่ม Opioids
ในการรักษา ในทางการแพทย์แผนไทย ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ส่วนใหญ่มักพบอาการที่แตกต่างกันไป เนื่องจาก
พยาธิสภาพและความรุนแรงของโรค แบ่งออกเป็นกลุ่มอาการทางปิตตะ ได้แก่ มีไข้ ให้ปวดศีรษะ ตาแดง
เนื้อตัวรุม สะท้านร้อนสะท้านหนาว ปากแห้งคอแห้ง มีแผลในปากหรือมีฝ้าที่ลิ้นจากไอความร้อนภายใน
ร่างกาย หรือที่เรียกว่า “กำเดา” กลุ่มอาการทางวาตะ ได้แก่ ท้องอืด ท้องพอง จุกแน่น รับประทานอาหารได้
น้อย เหน็บชา กลุ่มอาการทางเสมหะ ได้แก่ ไอเป็นมองคร่อ ปัสสาวะและอุจจาระวิปริตแปรไป ทั้งสี กลิ่น
ท้องผูก ลงท้อง บางทีมีกลิ่นเหม็นคาว กลุ่มอาการทางปถวีธาตุ ได้แก่ ร่างกายซูบผอม อ่อนแรงหาแรงมิได้
กินไม่ได้ มีก้อนทั้งภายในหรือภายนอกกาย เป็นต้น จึงมีการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย
ผสมผสานแนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง โดยใช้ยาสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการ
ของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ของปัจจัยภายนอก เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป (อุตุสมุฏฐาน)
ความชื้นในช่วงฤดูฝน หรือความร้อน เป็นเหตุให้ผู้ป่วยมีไม่สุขสบายมากขึ้น
โรงพยาบาลโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ เป็นโรงพยาบาลชุมชน (F2) ขนาด 30 เตียง ที่มีการดูแลผู้ป่วย
ระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative care) โดยทีมสหวิชาชีพ มีการปรึกษาและส่งต่อข้อมูล
ของผู้ป่วยระหว่างแผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย อาการส่วนใหญ่ที่ส่งต่อมาพบแพทย์แผนไทย คือ ผู้ป่วยรู้สึก
ร้อนระส่ำระส่าย ญาติต้องเช็ดตัวอยู่ตลอดเวลา แพทย์แผนไทยจะเลือกใช้ยาสมุนไพรที่มีรสเย็น ได้แก่
ยาประสะจันทน์แดง มีรสขมเย็น มีสรรพคุณแก้ไข้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ซึ่งจัดเป็นตำรับยาที่อยู่ในบัญชี
ยาหลักแห่งชาติ มาใช้ในการดูแลผู้ป่วย และผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อยาที่ดี จึงเกิดแนวคิดในการศึกษาผลการใช้
ตำรับยาประสะจันทน์แดงเพื่อลดปิตตะในผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติ
มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดในช่วงสุดท้ายของชีวิต
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาผลการใช้ตำรับยาประสะจันทน์แดงเพื่อลดปิตตะในผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
และอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ตำรับยาประสะจันทน์แดง
วิธีการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยย้อนหลัง (Retrospective study) โดยวัดผลแบบกลุ่มเดียว
จัดทำขึ้นที่คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง
(Purposive sampling) โดยใช้เกณฑ์ 15% ของประชากรผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยระยะประคับประคอง
(Palliative care) ของโรงพยาบาลโซ่พิสัย จำนวนทั้งสิ้น 86 ราย โดยคัดเลือก (Inclusion Criteria) ผู้ป่วยที่มี