Page 499 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 499

L48



                  อภิปรายผล
                         จากการศึกษาผลการใช้ตำรับยาประสะจันทน์แดง

                  ในผู้ป่วย Palliative ซึ่งมักมีอาการทางปิตตะ ด้วยเหตุเกิดจาก
                  กำเดาเป็นสมุฏฐาน การใช้ตำรับยาประสะจันทน์แดง จะช่วย
                  บรรเทาอาการ โดยมีเครื่องยาที่สำคัญ คือ แก่นจันทน์แดง
                  มีรสขมเย็น ประกอบด้วยสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ต้านอนุมูล
                  อิสระและต้านอักเสบ แก้ร้อนในโดยตรง และยังประกอบด้วย

                  ตัวยาช่วยที่มีรสสุขุม ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้จิตใจสงบ หลังการใช้ยา
                  พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรุนแรงของอาการทางปิตตะลดลง
                  และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และไม่

                  พบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                         การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง โดยการนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและ
                  การใช้สมุนไพรมาช่วยทำให้ผู้ป่วยสุขสบาย มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดในช่วงสุดท้ายของชีวิต และสามารถนำมา
                  ปรับใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย Palliative care ทั้งในหน่วยบริการและชุมชน มีการดูแลที่

                  ต่อเนื่อง และอาศัยการมีส่วนร่วมของญาติหรือผู้ดูแล อาจมีปรับขนาดยา ความถี่ในการใช้ยา หรือระยะเวลาใน
                  การติดตามผลการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

                  เอกสารอ้างอิง
                  1. รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล. (2566). สมุนไพรเดี่ยวกับสมุนไพรตำรับแตกต่างกันอย่างไร. คณะเภสัชศาสตร์
                     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 1-8.

                  2. คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. (2555). คู่มือการใช้ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
                     พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ :            โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
                  3. ปรีชา หนูทิม และคณะ. (2562). กระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
                     อย่างมีส่วนร่วมของวิชาชีกแพทย์แผนไทยและทีมสหวิชาชีพแผนปัจจุบันในโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย
                     และการแพทย์ผสมผสาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 28(5), 908-913.

                  4. อลิษา แสงพุ่ม.(2559). ฤทธิ์ทางชีวภาพของตำรับยาไทยชื่อยาประสะจันทน์แดงและสมุนไพรในตำรับ
                     (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
   494   495   496   497   498   499   500   501   502   503   504