Page 519 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 519

M4


                           การใช้ระบบ Application ในการบริหารจัดการโลหิตในโรงพยาบาลสุรินทร์


                                                                        1 นายกฤตนันท์ ส่งเสริม  นางอำไพ หวังวก  1
                                                                                            1
                                                                          นางพลอย บุญร่วม  นายเจติศักดิ์ วงศ์ชนะ
                                                                                          2
                                                    1
                                   2 นายสุริยา เส้นทอง  กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลสุรินทร์
                                                      2 ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ โรงพยาบาลสุรินทร์ เขตสุขภาพที่ 9

                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

                  1. ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ในปีหนึ่งๆ ผู้ป่วยในจังหวัดสุรินทร์มีความจำเป็นต้องใช้เลือดมากกว่า 30,000 ยูนิต แต่ปริมาณ

                  การจัดหาเลือดยังไม่สมดุลต่อปริมาณการใช้ การจัดหาเลือดในจังหวัดสุรินทร์เป็นภารกิจร่วมระดับจังหวัด
                  โดยมีนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์เป็นหลักในการดำเนินงาน และมีผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์
                  เป็นที่ปรึกษางานบริการโลหิต จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ยอดผู้บริจาคโลหิตลดลง การดำเนินการ

                  รับบริจาคโลหิตล่าช้าและเมื่อมีผู้บริจาคโลหิตเข้ามาบริจาคเป็นจำนวนมากก็เกิดความแออัดในหน่วยรับบริจาค
                  โลหิต มีผลสะท้อนจากความไม่พึงพอใจของผู้บริจาคโลหิต ทำให้ผู้บริจาคหลายรายไม่เข้ามาบริจาค เพราะต้อง
                  เสียเวลานานกว่าขบวนการบริจาคโลหิตจะเสร็จสิ้น และเมื่อรอนานๆอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการแทรก
                  ซ้อนหลังบริจาคโลหิต เช่น เป็นลม หน้ามืด
                         ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ในฐานะที่ปรึกษางานบริการโลหิต และนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์

                  ได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้มีดำริให้จัดประชุมปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหา โดยลำดับแรกได้เพิ่มบุคลากร
                  และอุปกรณ์ในการเจาะเก็บโลหิตบริจาคเพื่อการเจาะเลือดบริจาคที่เร็วขึ้น แต่ก็ยังพบปัญหาในจุดคัดกรองซึ่ง
                  เป็นจุดแรกในขั้นตอนการรับบริจาคโลหิต ที่ผู้บริจาคต้องตอบแบบสอบถามสุขภาพของผู้บริจาคโลหิตเอง

                  ซึ่งต้องตอบผ่านรูปแบบที่เป็นกระดาษที่มีทั้งหมด 37 ข้อตามมาตรฐานศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
                  ทำให้เกิดความล่าช้าซึ่งยังเป็นปัญหา ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์
                  จึงมีดำริให้สร้างทีมงานเครือข่ายผู้บริจาคโลหิตจังหวัดสุรินทร์ และจัดประชุมปรึกษาหารือแก้ปัญหาดังกล่าว
                  และให้นำระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ โดยสร้าง Application ขึ้นมาใช้บริหารจัดการ ซึ่งมีขั้นตอนการใช้งานดังนี้

                         บุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรท้องถิ่นสามารถสมัครเข้าใช้งานผ่าน www.surinbloodbank.com
                  เมื่อสมัครเข้าใช้งานเสร็จจะได้รับอนุมัติสิทธิ์ให้เข้าใช้งานระบบ application ซึ่งระบบประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
                         1. ส่วนของผู้บริจาคโลหิตแสดงความจำนงบริจาคโลหิต โดยหน่วยรับบริจาคโลหิต จะสร้าง QR code
                  ขึ้นและวางไว้ใน Application บุคลากรท้องถิ่นผู้มีหน้าที่จัดหาผู้บริจาคโลหิตสามารถดาวน์โหลด QR code

                  จาก Application กระจายต่อให้ผู้ที่มีความประสงค์บริจาคโลหิต scan QR code ตอบแบบสอบถามสุขภาพ
                  ล่วงหน้าก่อนบริจาคโลหิต หากไม่มีข้อห้ามในการบริจาคโลหิต ผู้บริจาคโลหิตที่ผ่านการตอบแบบสอบถาม
                  แล้วสามารถมาแจ้งความจำนงกับเจ้าหน้าที่ที่หน่วยเพื่อเข้าระบบการบริจาคโลหิตในขั้นตอนต่อไปได้
                         2. ส่วนของกระบวนการรับบริจาคโลหิต โดยเริ่มขั้นตอนดังนี้

                         เริ่มตั้งแต่ผู้บริจาคโลหิตแสดงบัตรประชาชนเพื่อตรวจสอบประวัติจากการสแกน QR code
                  ลงทะเบียนแสดงความจำนงบริจาคโลหิต เจ้าหน้าที่ในหน่วยรับบริจาคโลหิตพิมพ์ใบสมัครผู้บริจาคโลหิต
                  จากการลงทะเบียนของผู้บริจาคโลหิตและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยของผู้บริจาคโลหิต

                  และโลหิตที่ได้รับบริจาค จากนั้นให้เข้าเจาะปลายนิ้ว ตรวจหมู่โลหิต ตรวจความเข้มข้นของโลหิต บันทึกลงใน
                  ใบสมัคร และลงข้อมูลในระบบ Application จากนั้นเข้ารับอุปกรณ์บริจาคโลหิตโดยผ่านการสแกนบาร์โค้ด
   514   515   516   517   518   519   520   521   522   523   524