Page 521 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 521
M6
2.3 โรงพยาบาลในเครือข่ายสามารถติดต่อขอสนับสนุนโลหิตได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากระบบ
สามารถเห็นยอดโลหิตคงคลัง อัตราการใช้โลหิตของแต่ละโรงพยาบาล
3. ผลจากการประเมินความพึงพอใจในกลุ่มผู้บริจาคโลหิต บุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรท้องถิ่น
ผลการประเมินความพึงพอใจด้านเวลา และด้านการใช้ Application อยู่ในเกณฑ์พึงพอใจมากและมากที่สุด
5. อภิปรายผล
1. จากการนำ Application เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการโลหิตในโรงพยาบาลสุรินทร์ พบว่า
ในส่วนของการรับบริจาคโลหิต สามารถช่วยลดระยะเวลาการตอบแบบสอบถาม ทำให้ผู้บริจาคได้รับการ
บริการที่รวดเร็ว ลดการเกิดปฏิกิริยาแทรกซ้อนหลังบริจาคโลหิตที่หน่วยรับบริจาคและสามารถดำเนินกิจกรรม
รับบริจาคโลหิตเสร็จสิ้นภายในเวลา 12.30 น. ซึ่งสามารถเจาะเลือดผู้บริจาคได้เร็วจากเดิม 43%
2. ผลจากการพัฒนาระบบเครือข่ายการบริหารจัดการโลหิตภายในจังหวัดสุรินทร์ โดยการนำระบบ
Application มาใช้ในการบริหารจำนวนโลหิตคงคลัง จำนวนอัตราการใช้โลหิต โดยทำการกำหนดแนวทาง
การบันทึกข้อมูลโลหิตร่วมกันในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลโลหิตคงคลังที่เป็นปัจจุบัน ยังผลให้
โรงพยาบาลในเครือข่ายสามารถติดต่อขอสนับสนุนโลหิตได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากระบบสามารถเห็นยอดโลหิต
คงคลัง อัตราการใช้โลหิตของแต่ละโรงพยาบาล
6. สรุปและข้อเสนอแนะ
Application ที่ใช้ในการคัดกรองผู้บริจาคโลหิตในหน่วยเคลื่อนที่ ของงานคลังเลือด โรงพยาบาล
สุรินทร์ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ลดขั้นตอนการรอคอยผู้บริจาคโลหิต ผู้ปฏิบัติงานเกิดความพึงพอใจ
ในขั้นตอนการรับบริจาคโลหิตมากขึ้น
Application ในขั้นตอนการคัดกรองผู้บริจาคโลหิตจะช่วยลดความแออัดในขั้นตอนการตอบ
แบบสอบถามสุขภาพผู้บริจาคโลหิตบางส่วนล่วงหน้า ทำให้กระบวนการคัดกรองเร็วขึ้น ฉะนั้นจะต้องมีการ
เตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการในขั้นตอนการรับบริจาคโลหิต เช่น เตรียมคน เตรียมอุปกรณ์ ในการ
เจาะเก็บโลหิตบริจาค ให้พร้อม
การใช้ Application จำเป็นต้องจำกัดสิทธิ์หรือการแก้ไขแบบฟอร์มรวมถึงการ Update สำหรับผู้ที่
เกี่ยวข้องเท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามหลักด้านความปลอดภัยของข้อมูลและความถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐาน
การคัดกรองผู้บริจาคโลหิต