Page 520 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 520
M5
ที่ใบสมัครผู้บริจาคโลหิต ถุงโลหิต หลอดตัวอย่าง และเมื่อเจาะโลหิตบริจาคเสร็จสิ้นแล้วจะสแกนใบสมัคร
ผู้บริจาคโลหิตอีกครั้ง เพื่อปิดระบบการบริจาคโลหิต ซึ่งในแต่ละขั้นตอน เช่น รอลงทะเบียน รอรับถุงเลือด
รอเจาะเลือด บริจาคแล้ว ปิด visit ผู้บริจาคที่เจาะเก็บโลหิตเสร็จแล้ว สามารถทราบได้ว่าจำนวนผู้บริจาคโลหิต
แต่ละจุดต่าง ๆ มีจำนวนเท่าใด จุดไหนเกิดความล่าช้า เพื่อการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาในแต่ละขั้นตอน
ที่เกิดขึ้น
3. ส่วนระบบการบริหารจัดการโลหิตและผู้บริจาคโลหิต สำหรับผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องในการจัดหา
และใช้โลหิต สามารถเข้าดูจำนวนเลือดคงคลัง ดูอัตราการใช้เลือด ดูประวัติและจำนวนผู้บริจาคโลหิตแต่ละ
หน่วยแต่ละหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เพื่อใช้ในการกำกับ ติดตาม การจัดหาผู้บริจาคโลหิต
2. วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อศึกษาผลลัพธ์ด้านระยะเวลาในการบริจาคโลหิต จากการนำระบบ Application มาใช้
ในการบริหารจัดการโลหิต โดยวัดระยะเวลาการรอคอยการบริจาคโลหิต ในช่วงที่ 1 คือ ช่วงก่อนใช้
Application และช่วงที่ 2 คือ ช่วงการใช้ระบบ Application อย่างสมบูรณ์
2. เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการบริหารจัดการโลหิตภายในจังหวัดสุรินทร์ โดยการนำระบบ
Application มาใช้ในการบริหารจำนวนโลหิตคงคลัง จำนวนอัตราการใช้โลหิต โดยทำการกำหนดแนวทาง
การบันทึกข้อมูลโลหิตร่วมกันในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง
3. ประเมินความพึงพอใจทั้งผู้บริจาคโลหิต บุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรท้องถิ่น
3. วิธีการศึกษา
1. วิเคราะห์ระยะเวลาในการบริจาคโลหิตในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ ลงทะเบียน รอรับถุง รอเจาะเลือด
บริจาค ปิด visit ผู้บริจาคแล้ว โดยวิเคราะเป็น 2 ช่วง
ช่วงที่ 1 ตั้งแต่เดือน เมษายน 2566 ถึง มิถุนายน 2566 ก่อนมีการใช้ Application
ช่วงที่ 2 ตั้งแต่เดือน มกราคม 2567 ถึง มีนาคม 2567 ที่มีการใช้ Application อย่างสมบูรณ์
2. จัดประชุมกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบเครือข่ายการบริหารจัดการโลหิตกับโรงพยาบาลชุมชน
เพื่อบริหารจำนวนโลหิตคงคลัง จำนวนอัตราการใช้โลหิต
3. วิเคราะห์ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริจาคโลหิต บุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรท้องถิ่น
4. ผลการศึกษา
1. เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในการรับบริจาคโลหิตในหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ระหว่าง
ช่วงที่ 1 ก่อนการใช้ Application พบว่าใช้เวลาในการรับบริจาคโลหิตใน 1 ชั่วโมงได้ 50 ราย และในช่วงที่ 2
ที่มีการใช้ Application อย่างสมบูรณ์ ใช้เวลาในการรับบริจาค 1 ชั่วโมงได้ 71 ราย แสดงว่าผลจากการ
นำระบบ Application มาใช้ในกระบวนการรับบริจาคโลหิตประสบผลสำเร็จ สามารถทำให้กระบวนการรับ
บริจาคโลหิตเสร็จเร็วขึ้น และในระยะเวลา 1 ชั่วโมง สามารถเจาะเลือดผู้บริจาคได้เร็วจากเดิม 43% และ
สามารถดำเนินการรับบริจาคโลหิตเสร็จสิ้นภายในเวลา 12.30 น.
2. ผลจากการจัดประชุมเครือข่ายการบริหารจัดการโลหิตภายในจังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่
3 เมษายน 2567 ให้มีการนำระบบ Application มาใช้ในการบริหารจำนวนโลหิตคงคลัง จำนวนอัตรา
การใช้โลหิต โดยทำการกำหนดแนวทางการลงข้อมูลโลหิตร่วมกันในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งดังนี้
2.1 ให้โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งลงข้อมูลการรับเลือดเข้าคลัง และลงข้อมูลการจ่ายเลือดใน
ระบบ Application ทุกครั้ง
2.2 ถ้าโรงพยาบาลใดมีระบบโปรแกรม LIS หรือ HIS งานคลังเลือดขอให้พัฒนาต่อเรื่องการ
เชื่อมระบบโปรแกรมนั้น ๆ เข้ากับ Application เพื่อลดภาระงานซ้ำซ้อน