Page 516 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 516

M1

                                             SURIN TEAM by SURIN MODEL



                                                                                บังอร สุขประเสริฐ, เกตุลดา พรมมี
                                                                และคณะผ่าตัดนำไตออกจากผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย
                                                 กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสุรินทร์เขตสุขภาพที่ 9

                                                                                               ประเภท วิชาการ



                  1. ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ตามที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ได้มีมติให้ทีมผ่าตัด
                  นำอวัยวะออกจากผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย โรงพยาบาลสุรินทร์ สามารถผ่าตัดนำไตออกจากผู้บริจาคอวัยวะสมอง
                  ตายได้ด้วยตนเองตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2564 เป็นต้นมานั้น มีจำนวนยอดผู้บริจาคอวัยวะปีงบประมาณ พ.ศ.
                  2564 – 2566 จำนวน 15 ราย, 27 ราย และ 30 รายตามลำดับ ทำให้โรงพยาบาลสุรินทร์ได้รับโล่รางวัลทีม

                  ผ่าตัดผู้บริจาคอวัยวะนำไตออกมากที่สุดของส่วนภูมิภาค จากศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 30
                  มีนาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ทีมผ่าตัดไตออกจากผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย โรงพยาบาลสุรินทร์ มีการสลับ
                  หมุนเวียนการปฏิบัติงานตามตารางที่ได้มอบหมายไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมของทีมผ่าตัด

                  ทุกเดือน จากการทบทวนผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา พบว่ายังมีปัญหาจากการปฏิบัติงาน เช่น บางทีมปฏิบัติ
                  ไม่ครบตามขั้นตอน และบางขั้นตอนต้องควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานตามที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชา ด
                  ไท ย ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของทีมและทำให้เกิดความล่าช้า ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสุรินทร์ได้เล็งเห็น
                  ความสำคัญอย่างยิ่ง จึงจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของทีมผ่าตัดนำไตออกจากผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย หรือ

                  เรียกว่า SURIN MODEL เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติไปแนวทางเดียวกัน ถูกต้องครบถ้วน โดยอ้างอิงตาม
                  มาตรฐานตของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย และเป็นการพัฒนาศักยภาพพยาบาลทีมผ่าตัดนำไตออก
                  จากผู้บริจาคอวัยวะสมองตายทุกทีมที่หมุนเวียนมาปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเวลาที่ได้รับมอบหมาย

                  2. วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. พัฒนาคู่มือการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนำไตออกจากผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย (SURIN MODEL)

                  โรงพยาบาลสุรินทร์
                         2. ทีมผ่าตัดนำไตออกจากผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย โรงพยาบาลสุรินทร์ปฏิบัติตามคู่มือการพยาบาล
                  ผู้ป่วยผ่าตัดนำไตออกจากผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย (SURIN MODEL)
                         3. เพื่อศึกษาผลการใช้คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนำไตออกจากผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย

                  (SURIN MODEL) โรงพยาบาลสุรินทร์

                  3. วิธีการศึกษา
                         1. จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และกำหนดผู้รับผิดชอบ
                         2. ประชุมคณะทำงาน วางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กิจกรรมผู้รับผิดชอบและ

                  ระยะเวลาการติดตามประเมินผล
                         3. สืบค้นข้อมูล สาเหตุและทบทวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
                         4. วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ไข
                         5. นำเสนอการพัฒนางานต่อหัวหน้างานและบุคลากรในหน่วยงานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสุรินทร์
                         6. จัดทำคู่มือการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนำไตออกจากผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย (SURIN MODEL)
   511   512   513   514   515   516   517   518   519   520   521