Page 514 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 514
L63
อภิปรายผล
การพัฒนาการเข้าถึงระบบบริการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว เป็นการวิจัยเชิง
ปฏิบัติการโดยเน้นการให้บริการเชิงรุก การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอและชุมชน
กล่าวคือ การพัฒนาระบบบริการแพทย์แผนไทย ต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค ความต้องการ
ของประชาชน เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไข้ที่ชัดเจน ซึ่งปัญหาที่พบคือประชาชนส่วนใหญ่ขาด
ความรู้ความเข้าใจในการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ประชาชน
บางส่วนขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนไทย จึงส่งผลให้การเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือกยังน้อย และส่งผลให้ตัวชี้วัดร้อยละผู้ป่วยนอกที่มารับบริการการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก ในปีงบประมาณ 2562 - 2564 ยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด
จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาการเข้าถึงระบบบริการแพทย์แผนไทย
มีการวางแผนการปฏิบัติงานโดยการกำหนดเป็นนโยบายของโรงพยาบาล จัดทำแผนการออกให้บริการ OPD
คู่ขนานทุกวันอังคาร และจัดบริการแพทย์แผนไทยเคลื่อนที่ในชุมชนทุกวันพุธ มีการดำเนินงานตามแผน
ประสานงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพให้บริการ OPD คู่ขนานที่ตึกผู้ป่วยนอก เน้นการออกให้บริการเชิงรุกในชุมชน
และหน่วยงานราชการ ประสานงานร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ประชาสัมพันธ์การให้บริการ
แพทย์แผนไทยทั้งในและนอกสถานพยาบาล เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงระบบบริการแพทย์แผนไทย
มีการประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ซึ่งพบว่าร้อยละผู้ป่วยนอกที่มารับบริการการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยนอกทั้งหมด จากเดิม ในปีงบประมาณ 2562 - 2564 ตัวชี้วัดได้
ร้อยละ 11.78, 9.00 และ 20.16 ตามลำดับ หลังจากการปฏิบัติตามแผนการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย
ผลการดำเนินงานพบว่า ในปี 2565 และ 2566 ตัวชี้วัดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.98 และ 25.32 (สำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัดยโสธร, 2566) ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนด แล้วจัดทำเป็นรายงานผลการดำเนินงาน
ประจำปีเพื่อเสนอต่อผู้บริหารในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น
สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษาการพัฒนาการเข้าถึงระบบบริการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
โดยการจัดบริการออกตรวจโอพีดีคู่ขนานร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันที่แผนกผู้ป่วยนอกและการออกให้บริการ
เชิงรุก แพทย์แผนไทยเคลื่อนที่ในชุมชน พบว่าร้อยละผู้ป่วยนอกที่มารับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยนอกทั้งหมด ในปีงบประมาณ 2565 และ 2566 คือ ร้อยละ 25.98
และ 25.32 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร, 2566) ซึ่งผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนด
ข้อเสนอแนะ
1. เพิ่มการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการในคลินิกการแพทย์
แผนไทย เพื่อนำไปประกอบการพัฒนาระบบบริการให้มีคุณภาพและมาตรฐานมากยิ่งขึ้น
2. นำหลักการพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยไปใช้ในบริการด้านอื่นๆ ได้ เช่น คลินิก
กัญชาทางการแพทย์ คลินิกเฉพาะโรคด้านการแพทย์แผนไทย เช่น คลินิกเข่าเสื่อม คลินิกไมเกรน เป็นต้น