Page 537 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 537
N1
การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินทางคลินิกด้วยคอมพิวเตอร์
(Clinical Decision Support System) ในการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยภาวะเมทาบอลิกซินโดรม
(Metabolic syndrome) ที่มีการทำงานของไตบกพร่อง
เภสัชกรหญิงพลอยปภัส พงษ์ประพันธ์ และกลุ่มงานเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก
โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม เขตสุขภาพที่ 5
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรงพยาบาลสามพรานเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 130 เตียง ในปี 2565 โรงพยาบาลสามพราน
มีผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่องจำนวน 1,527 ราย ซึ่งภาวะไตบกพร่องนั้นส่งผลต่อเภสัชจลนศาสตร์
(Pharmacokinetics) ทำให้มีการกำจัดยาที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจำเป็นต้องมีการปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับ
ภาวะของผู้ป่วย เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Adverse Drug Event)
ซึ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเมทาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) นั้นเป็นกลุ่มที่มักจะมีภาวะไตบกพร่อง
ร่วมด้วย และมียาหลายชนิดที่ต้องปรับขนาดยาตามการทำงานของไต ดังนั้นการสั่งใช้ยาเหล่านี้โดยแพทย์หรือ
การจ่ายยาโดยเภสัชกร จึงควรระมัดระวังมากขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาและอาการ
ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
ปัจจุบันการสั่งใช้ยาในโรงพยาบาลสามพรานใช้การสั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (Computerized
physician order entry; CPOE) ทั้งหมด จึงสามารถพัฒนาแนวทางลดความคลาดเคลื่อนทางยาจากกา
รสั่งใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในผู้ป่วยไตบกพร่อง โดยนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกด้วยคอมพิวเตอร์
(Clinical decision support system; CDSS) เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานของบุคลากร
ให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ลดความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ความปลอดภัยของผู้ป่วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในระบบบริการสุขภาพ
วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อวัดผลการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกด้วยคอมพิวเตอร์ในการ
สั่งใช้ยาให้เหมาะสมตามการทำงานของไตในผู้ป่วยเมทาบอลิกซินโดรม (Metabolic syndrome) โรงพยาบาล
สามพราน ปี 2565-2566
วิธีการศึกษา
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสามพรานที่มีผลการตรวจค่าอัตราการกรองของไต (Estimated
Glomerular Filtration Rate; eGFR) อย่างน้อย 1 ครั้งในปี 2565-2566 และได้รับยาที่ใช้ในการรักษาภาวะ
เมทอบอลิกซินโดรมที่ต้องปรับขนาดตามการทำงานของไตอย่างน้อย 1 ชนิด
ระยะเวลาในการศึกษา : เดือนมกราคมถึงธันวาคม ปี 2565 (ก่อน) และปี 2566 (หลังพัฒนาระบบ)
เครื่องมือและนวัตกรรม : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก (CDSS) ด้วยคอมพิวเตอร์ และ
เอกสาร โดยยึดตามหลักการ ADDIE model
1) Analysis: ร่วมวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก
ด้วยคอมพิวเตอร์ในฝ่ายเภสัชกรรม และคณะกรรมการทีมนำคลินิกอายุรกรรม (PCT)
2) Design: ออกแบบและวางแผนพัฒนาระบบ โดยในระยะที่ 1 พัฒนาเครื่องมือ CDSS ผ่าน
คอมพิวเตอร์โดยพัฒนาการแจ้งเตือน (Pop-up) ขนาดยาที่แนะนำในโปรแกรม HosXP เมื่อมีการสั่งใช้ยาที่ต้อง
ปรับขนาดตามการทำงานของไต