Page 535 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 535
M20
5. อภิปรายผล
จากผลการศึกษาพบว่าพยาบาลผู้จัดการรายกรณี มีบทบาทสำคัญในกระบวนการขอรับบริจาค
อวัยวะ ตั้งแต่ปี 2562 มีพยาบาลผู้จัดการรายกรณี 2 คน ได้จัดทำแนวทาง คู่มือปฏิบัติผลดำเนินงาน
เกิดผลลัพธ์ทั้ง 3 ระยะหลักที่ดีได้แก่ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ได้แก่ ระยะที่ 1 ผลลัพธ์ในการค้นหา Potential
Donor และได้เจรจา คิดเป็นร้อยละ 100 ระยะเวลาเฉลี่ยของระยะที่ 1 ไม่เกิน 48 ชม., ระยะที่ 2 ผลลัพธ์
ในช่วงวินิจฉัยสมองตาย พบว่าอุบัติการณ์ภาวะ Cardiac arrest ไม่เกิดขึ้น 100 % เวลาเฉลี่ยในการทำ
Declare brain death 2 ครั้ง ใช้เวลาไม่เกิน 10 ชม. คิดเป็นร้อยละ 76 อีก 23 % พบว่า เกิดจาก ภาวะ
hemodynamic Unstable, ระยะที่ 3 ไม่พบ Donor เสียชีวิตขณะรอผ่าตัด อวัยวะที่จัดเก็บได้สามารถนำไป
ปลูกถ่ายได้ 100% ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มีระบบการดูแลและประสานแพทย์รวมทั้งการให้ความรู้ทักษะแก่ทีม
พยาบาลประจำหอผู้ป่วยที่ดูแล Donor ในการ donor care ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และระยะเวลาเฉลี่ย
ในกระบวนการบริจาคอวัยวะไม่เกินระยะเวลาที่ตั้งตัวชี้วัด ส่วนจำนวน Donor ที่จัดเก็บอวัยวะได้ไม่ครบ
100% เกิดจากผลของห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติหลังผ่านกระบวนการวินิจฉัยสมองตาย ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ
พบว่า ความรู้ความเข้าใจ ทักษะของพยาบาลประจำหอผู้ป่วยมีเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 80 ความมั่นใจในการ
ดูแลและเจรจาขอรับบริจาค คิดเป็นร้อยละ 52 ความพึงพอใจของครอบครัวผู้บริจาคอวัยวะและดวงตา
ต่อกระบวนการบริจาคอวัยวะ คิดเป็นร้อยละ 89 ความพึงพอใจของสหสาขาวิชาชีพต่อกระบวนการบริจาค
อวัยวะ คิดเป็นร้อยละ 93
6. สรุปและข้อเสนอแนะ
กระบวนการบริจาคอวัยวะเป็นงานที่ยุ่งยากซับซ้อน จึงต้องใช้บุคลากรทางการพยาบาลที่มี
ความเชี่ยวชาญเฉพาะ มีทักษะ มีกระบวนการตัดสินใจทั้งเชิงคลินิกและเชิงจริยธรรม รวมถึงการใช้ทักษะ
การประสานความร่วมมือระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์การดูแลที่มีประสิทธิภาพ ตามกรอบ
แนวคิดการจัดการรายกรณี จากผลการศึกษาทำให้พบว่า พยาบาลผู้จัดการรายกรณีเป็นบุคคลที่มีบทบาท
สำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการบริจาคอวัยวะและดวงตา โดยการบริหารจัดการ ประสานความร่วมมือ
ต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองตาย เพื่อนำมาใช้ค้นหา ช่วยแพทย์ทำหัตถการ การดูแลผู้ป่วยสมองตาย
ให้คงไว้ซึ่งอวัยวะที่สมบูรณ์ รวมทั้งเป็นด่านหน้าที่ต้องใกล้ชิดกับครอบครัวผู้เสียชีวิตมากที่สุด จึงต้อง
มีความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมที่สอดคล้องกับความเชื่อ วัฒนธรรม เพื่อให้ภารกิจสะพานบุญลุล่วง
และมีผลลัพธ์ที่ดีที่สุด จึงจำเป็นต้องพัฒนาบทบาทพยาบาลจัดการรายกรณีให้มีมากขึ้นต่อไป