Page 540 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 540
N4
การพัฒนากลไกการเฝ้าระวังการจำหน่ายยาในร้านชำผ่านนโยบายส่งเสริมการใช้ยา
อย่างสมเหตุผลในชุมชน ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
วทัญญู ประยูรหงษ์ , เยาวลักษณ์ ยอดปืน , เกศินี สาตรา , ขนิษฐา พรดี
1
4
2
3
2
1 กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพิมาย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรังกาใหญ่,
4
3
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมสร้างตนเอง 2, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพิมาย
อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
สถานการณ์การใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศไทยยังคงพบปัญหาต่อเนื่อง จากผลการสำรวจ
การกระจายยาในร้านชำของประเทศไทยปี 2561 พบการจำหน่ายยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 55.6 ยาอันตราย
ร้อยละ 91.1 ยาแผนโบราณร้อยละ 82.2 ยาชุดร้อยละ 17.8 และก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ตามมา
อำเภอพิมาย ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยจากยาในชุมชน ตั้งแต่ปี 2558 แม้ว่า
แนวโน้มของปัญหาดีขึ้น แต่เมื่อทบทวนการดำเนินงานยังพบปัญหาคือ การขาดแนวทางการค้นหา รวบรวม
อุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาจากชุมชนอย่างเป็นระบบทำให้ไม่ทราบถึงขนาด และผลกระทบปัญหา
และอีกปัญหาหนึ่งคือ การดำเนินงาน ปัจจุบัน ยังขาดความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ส่งผลให้ขาด
ความต่อเนื่อง และยั่งยืน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงจัดทำงานวิจัยนี้ขึ้น เพื่อพัฒนากลไกการเฝ้าระวังการจำหน่ายยา
อันตรายในร้านชำ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนทุกภาคส่วน ผ่านนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน
(RDU community) โดยคัดเลือก ตำบลรังกาใหญ่ เป็นพื้นที่ดำเนินการ โดยใช้กระบวนการการวิจัยและพัฒนา
และวิจัยประเมินผล ร่วมกับวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในการระบุปัญหา วิเคราะห์สาเหตุ หรือ
การสะท้อนผลการปฏิบัติงานในชุมชน นำไปสู่การออกแบบระบบเฝ้าระวังที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
เพื่อเป็นต้นแบบแนวทางการจัดการปัญหา นำไปสู่การปฏิบัติร่วมกันในอำเภอพิมายอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์การศึกษา : 1) เพื่อพัฒนากลไกการเฝ้าระวังการจำหน่ายยาในร้านชำ โดยการมีส่วนร่วมของ
ชุมชน ผ่านนโยบายส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU community) ของตำบลรังกาใหญ่
อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังการจำหน่ายยาในร้านชำฯ
วิธีการศึกษา: การวิจัยเรื่องนี้ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนาและวิจัยประเมินผลหลังสิ้นสุดโครงการ ร่วมกับ
การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งประยุกต์กิจกรรมผ่านนโยบายส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ในชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เครือข่าย คบส. และผู้ประกอบการ (117 ร้าน) ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย
จังหวัดนครราชสีมา
ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย : การวิจัยนี้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ขั้นตอนการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังฯ ได้จากการประชุม
วางแผนระดมสมองของเครือข่าย คบส. ในพื้นที่โดยใช้การสนทนากลุ่มจนได้ข้อสรุปร่วมกัน สรุปเป็น
แนวทางการเฝ้าระวังการจำหน่ายยาในร้านชำของ ตำบลรังกาใหญ่ ประกอบด้วยการจัดอบรม การตรวจ
เฝ้าระวัง จัดทำสื่อตามบริบทใน และสร้างข้อตกลงร่วม
ขั้นตอนการศึกษาผลการพัฒนาฯ : ติดตามสัดส่วนรายการยาที่จำหน่ายในร้านชำ และคะแนน
ความอันตรายของยาที่จำหน่ายในร้านชำที่มีความเสี่ยงเกิดอันตรายต่อประชาชน (Grocery medication
harm score) (คำนวณจาก : ระดับความอันตรายของยาที่ครอบครอง 5 ระดับ x ระดับความเสี่ยงแยกตาม