Page 539 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 539
N3
ผลการศึกษา
จำนวนใบสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอกที่มีการสั่งใช้ยาขนาดไม่เหมาะสมก่อนและหลังพัฒนาระบบ
รายการยา ก่อนพัฒนาระบบ CDSS หลังพัฒนาระบบ CDSS
ทั้งหมด ขนาดไม่เหมาะสม ร้อยละ ทั้งหมด ขนาดไม่เหมาะสม ร้อยละ
กรณีรายการที่ควรปรับขนาดยา
Allopurinol 1,666 28 1.68 1,743 19 1.09
Atenolol 6,212 10 0.16 5,339 0 0
Metformin 15,749 192 1.22 17,165 143 0.83
Simvastatin 20,843 952 4.57 19,793 861 4.35
กรณีรายการยาที่ควรหยุดยา
Aspirin300mg 122 2 1.64 102 2 1.96
Celecoxib 162 0 0.00 164 0 0.00
Fenofibrate 3,957 15 0.38 3519 8 0.23
Gemfibrozil 983 18 1.83 785 5 0.64
HCTZ 3,479 4 0.11 2919 4 0.14
Metformin 15,749 2 0.01 17165 0 0.00
Mefenamic 102 0 0.00 57 0 0.00
Ibuprofen 906 4 0.44 831 2 0.24
Naproxen 5114 33 0.65 5645 28 0.50
อภิปรายผล: จากรายการยาข้างต้น 13 รายการ พบว่าระบบ CDSS สามารถลดการจ่ายขนาดยาไม่เหมาะสม
ได้ 9 รายการ มียาที่ไม่มีการสั่งใช้ยาที่ไม่เหมาะสมอยู่แล้วทั้งก่อนและหลังพัฒนาระบบ 2 รายการ และมียาที่มี
ร้อยละการใช้ขนาดยาไม่เหมาะสมเพิ่มขึ้น 2 รายการ คือ Aspirin 300 mg และ HCTZ โดยเมื่อค้นประวัติ
ผู้ป่วยที่ใช้ Aspirin พบว่ามีความจำเป็นต้องใช้เนื่องจากผู้ป่วยมาด้วยภาวะหลอดเลือดสมองและใช้ในระยะ
ฉับพลันเท่านั้น ส่วน HCTZ พบว่าในปี 2565 มีผู้ป่วยจำนวน 2 ราย มาโรงพยาบาล 4 visit และปี 2566
เหลือเพียง 1 ราย โดยเป็นคำสั่งใช้ยาที่ยืนยันโดยแพทย์แล้วว่ามีความจำเป็นต้องใช้ เนื่องจากมีอาการ
ไม่พึงประสงค์ต่อยาลดความดันโลหิตกลุ่มอื่น ส่วนรายการยาที่ควรหยุดยาแต่พบว่ายังมีการสั่งใช้อยู่ ส่วนใหญ่
มักเกิดจากการที่มีผลตรวจค่าอัตราการกรองของไตคนละ visit กับการสั่งใช้ยา หรือสั่งใช้ยาจากแพทย์แผนก
อื่นๆ เช่น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือแพทย์ทั่วไป ซึ่งในส่วนนี้ได้พยายามพัฒนาระยะที่ 2 โดยพัฒนาใบสั่งยาให้มี
การแสดงค่า eGFR ครั้งล่าสุด เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดูแลรักษาผู้ป่วยแล้ว
สรุปและข้อเสนอแนะ: การนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกมาประยุกต์ใช้ร่วมกันกับการสั่งยาทาง
อิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความผิดพลาดจากมนุษย์ทั้งในแง่ของการ
ผิดพลาดจากการขาดความรู้ (Knowledge-based errors) หรือผิดพลาดจากการพลั้งเผลอ (Skill-based
errors) เป็นผลดีต่อผู้ป่วยทั้งในด้านของการดูแลรักษา ความปลอดภัย และลดค่าใช้จ่ายจากการดูแลผู้ป่วย
นอกจากนี้สามารถนำฐานข้อมูลไปปรับใช้ในหน่วยงานอื่นๆ เช่น PCU หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ที่อาจมีบุคลากรไม่เพียงพอ ไม่มีแพทย์หรือเภสัชกรประจำได้ ทั้งนี้ควรพัฒนาระบบการแจ้งเตือนให้มี
ความจำเพาะต่อค่าการทำงานของไตให้มากขึ้น รวมถึงควรทบทวนและปรับปรุงฐานข้อมูลแนวทางการปรับ
ขนาดยาตามการทำงานของไตให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ