Page 563 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 563

N27


                  อภิปรายผล

                         การใช้แนวคิดวงจรควบคุมคุณภาพของเดมมิ่ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงคุณภาพในการ
                  ป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษที่เหมาะสมกับบริบทของหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรม ทำให้บุคลากร
                  พยาบาลสามารถปฏิบัติตามแนวทางได้อย่างถูกต้อง โดยมีประเด็นการพัฒนาเพิ่มเติมดังนี้ 1) การเฝ้าระวังโดย
                  บุคลากรพยาบาลจะมีการตรวจสอบ alert super MDR ในระบบ HosXP ทุกครั้งก่อนรับใหม่/รับย้าย/Re-

                  admit และดำเนินการตามมาตรการ 2) การจัดโซนพร้อมทั้งมีการติดสัญลักษณ์และแจ้งเตือนสหสาขาวิชาชีพ
                  ที่เกี่ยวข้องรับทราบและดำเนินการตามมาตรการที่กำหนด 3) การทำความสะอาด lock เว้น lock ทุกวัน
                  ด้วย 1% โซเดียมไฮโปคลอไรด์ 4) การลดการปนเปื้อนของอุปกรณ์สาย circuit ต่างๆ 5) ข้อปฏิบัติสำหรับญาติ
                  ผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษ ซึ่งแสดงให้เป็นว่า วงจรควบคุมคุณภาพเป็นแนวคิดที่เหมาะสมในการ

                  ปรับปรุงระบบให้เกิดคุณภาพการพยาบาล และทำให้มีการปฏิบัติถูกต้องมากขึ้น
                         ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยสำหรับการศึกษานี้ พบว่าอัตราการเกิดเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษ และการติดเชื้อจาก
                  เชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษลดลง ดังตารางที่ 1 ทำให้ผลลัพธ์ของการติดเชื้อจากเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษ ได้แก่
                  จำนวนวันนอน และค่ายาต้านจุลชีพในการรักษา มีแนวโน้มลดลง แต่อัตราตายไม่มีความแตกต่างกัน

                  ดังตารางที่ 2 สอดคล้องกับการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมาพบการศึกษาการนำแนวคิดวงจรควบคุมคุณภาพ
                  ของเดมมิ่งไปใช้ในการบริหารจัดการในห้องผ่าตัด พบว่าหลังดำเนินการทำให้บุคลากรมีคะแนนการทำความ
                  สะอาดมือ การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ การทำลายเชื้อและการแยกผู้ป่วยดีกว่าก่อนดำเนินการ และ

                  ส่งผลให้อัตราการติดเชื้อหลังการผ่าตัดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการศึกษาของสถาบันบำราศนราดูร
                  ที่นำแนวคิดวงจรคุณภาพของเดมมิ่งไปใช้ในการศึกษาผลของการใช้แนวทางปฏิบัติดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา
                  พบว่า หลังการใช้ บุคลากรมีความรู้และการปฏิบัติที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำให้อัตราการติดเชื้อดื้อยา

                  และอัตราตายมีแนวโน้มลดลง
                  สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษใน

                  หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมด้วยแนวคิดวงจรควบคุมคุณภาพสามารถลดการเกิดเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษ และ
                  การติดเชื้อจากเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษ ส่งผลให้ผลลัพธ์ของการติดเชื้อจากเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษลดลง  ดังนั้น
                  ควรสนับสนุนการพัฒนาการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษในแผนกอื่น หรือพัฒนาการป้องกันและ
                  ควบคุมการติดเชื้อตำแหน่งต่างๆในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรด้วยแนวคิดวงจรควบคุมคุณภาพต่อไป
   558   559   560   561   562   563   564   565   566   567   568