Page 562 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 562
N26
208 ราย กลุ่มหลังการพัฒนา 382 ราย (รอบที่ 1 จำนวน 201 รายและรอบที่ 2 จำนวน 181 ราย) ตั้งแต่
ตุลาคม 2565 ถึงกรกฎาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษ
และใบรายงานผลการเพาะเชื้อของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
และการคำนวณอัตราการเกิดเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษ โดยดำเนินการศึกษาตามขั้นตอน ดังนี้
ระยะที่ 1 ก่อนการพัฒนา (ต.ค.-พ.ย.65) โดยเฝ้าระวังสถานการณ์และผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย
ระยะที่ 2 การพัฒนา PDSA รอบที่ 1 (ธ.ค.65-ก.พ.66) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) Planning
โดยการสืบค้นข้อมูล แล้วร่วมประชุมกับทีมพัฒนา เพื่อค้นหาปัญหา นิเทศการปฏิบัติ วิเคราะห์ แล้วยกร่าง
แนวทางและปรับให้เหมาะสมกับบริบทของหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรม 2) Do โดยทบทวนความรู้และส่งเสริม
ให้บุคลากรพยาบาลปฏิบัติการควบคุมและป้องกันเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษตามแนวทางที่ปรับปรุงขึ้น 3) Study
โดยนิเทศ ติดตามการปฏิบัติ และเฝ้าระวังเชื้อดื้อควบคุมพิเศษ 4) Action โดยสะท้อนข้อมูลการปฏิบัติ และ
ผลการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษ ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และปรับปรุงแนวทางปฏิบัติ
ระยะที่ 3 ประเมินผลรอบที่ 1 (มี.ค.-เม.ย.66) โดยดำเนินการเช่นเดียวกับระยะที่ 1
ระยะที่ 4 การพัฒนา PDSA รอบที่ 2 (พ.ค.66) ดำเนินการเช่นเดียวกับระยะที่ 2
ระยะที่ 5 ประเมินผลรอบที่ 2 (มิ.ย.-ก.ค.66) โดยดำเนินการเช่นเดียวกับระยะที่ 3
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นเพศชายและมีโรคประจำตัว อายุเฉลี่ย 53-55 ปี ส่วนใหญ่
เป็นผู้ป่วยระบบประสาทและไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัด ได้รับยาต้านจุลชีพและหัตถการตั้งแต่แรก
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบอัตราการเกิดเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษ
กิจกรรม วันนอน XDR NI XDR
ครั้ง /1000วันนอน ครั้ง /1000วันนอน
ก่อนการพัฒนา 2555 33 12.92 17 6.65
หลังการพัฒนารอบ 1 2117 13 6.14 4 1.89
หลังการพัฒนารอบ 2 2146 15 6.99 6 2.80
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบผลลัพธ์ของการติดเชื้อจากเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษ
ผลลัพธ์ ก่อนการพัฒนา หลังการพัฒนารอบ 1 หลังการพัฒนารอบ 2
วันนอน (วัน) 540 (X=41.54) 181 (X=45.25) 114 (X=22.80)
̅
̅
̅
ค่ายาต้านจุลชีพ (บาท) 54891.00 19420.00 19439.00
อัตราตาย (ราย) 3/13 (23.08) 2/4 (50.00) 1/5 (20.00)