Page 564 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 564
N28
การทบทวนและกำหนดแนวปฏิบัติลดการปนเปื้อนการเจาะเลือด
ส่งเพาะเชื้อในโรงพยาบาลมัญจาคีรี
นางสาวเกษร สุนาโท
โรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญ
การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย
ซึ่งเป็นผลแทรกซ้อนตามมาจาการติดเชื้อจากระบบต่างๆของร่างกาย การเจาะเลือดส่งตรวจเพาะเชื้อเพื่อหา
สาเหตุการติดเชื้อในกระแสเลือดจะเป็นวิธีมาตรฐาน และผลการเพาะเชื้อเป็นข้อมูลที่ใช้สำหรับเลือกยาต้าน
จุลชีพเพื่อการรักษา จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคและให้การรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ต้องใช้เวลานาน แพทย์จะทำการรักษาโดยให้ยาต้านจุลชีพไปก่อนระหว่างที่รอการวินิจฉัยว่าเป็นเชื้อชนิดใด
เมื่อพบว่ามีเชื้อปนเปื้อน แพทย์ก็จะหยุดให้ยาต้านจุลชีพ ทำให้ใช้ยาต้านจุลชีพที่เกินความจำเป็น นำไปสู่การ
ใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่เหมาะสม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเปรียบเทียบผลการปนเปื้อนของเชื้อ ก่อนและหลังการทบทวนและกำหนดแนวปฏิบัติลด
การปนเปื้อนการเจาะเลือดที่ส่งเพาะเชื้อในโรงพยาบาลมัญจาคีรี
2. เพื่อปรับปรุงพัฒนากระบวนการเจาะเก็บเลือดส่งตรวจเพาะเชื้อให้เป็นแนวปฏิบัติเดียวกัน
วิธีการศึกษา
1. รูปแบบการศึกษา เป็นรูปแบบเชิงปริมาณซึ่งการศึกษาจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือก่อนทบทวนและ
กำหนดแนวปฏิบัติ (1 มกราคม 2566 ถึง 21 กรกฎาคม 2566) และหลังทบทวนและกำหนดแนวปฏิบัติ
(22 กรกฎาคม 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567) ผู้มีส่วนร่วม แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์
และคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยร่วมกันทบทวนกระบวนการเจาะเก็บ
เลือดพร้อมทั้งฝึกลงมือปฏิบัติ การเตรียมอุปกรณ์สำหรับเจาะ การเตรียมผู้ป่วย (กรณีผู้ป่วยเป็นเด็กเล็กจะอยู่
ไม่นิ่ง เส้นเลือดมีขนาดเล็ก และแตกง่าย) ขั้นตอนการล้างมือของผู้เจาะก่อนเจาะเลือด บริเวณตำแหน่งที่เจาะ
ของผู้ป่วย เวลาที่เหมาะสมในการเจาะเลือดเพาะเชื้อ ปริมาณเลือดที่ใช้ น้ำยาที่ใช้สำหรับทำความสะอาด
ผิวหนัง และจุกขวดเพาะเชื้อโดยเปลี่ยนจากการใช้ Povidone - iodine มาใช้ 2% chlorhexidine
gluconate in 70 % alcohol แทน
2. กลุ่มตัวอย่างคือขวดเพาะเชื้อจากเลือดที่เจาะจากผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจและรักษาที่โรงพยาบาล
มัญจาคีรีแผนกห้องฉุกเฉิน แผนกผู้ป่วยในทั้ง 2 ช่วง (1 มกราคม 2566 ถึง 21 กรกฎาคม 2566) และ
(22 กรกฎาคม 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567)
3. รวบรวมข้อมูลผลการเพาะเชื้อจากเลือดที่มีเชื้อปนเปื้อน ที่ส่งไปตรวจยังห้องปฏิบัติการรับเหมา
บริษัทอาร์ไอเอ แลบบอราทอรี่ จำกัด ซึ่งผ่านการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานงานเทคนิค
การแพทย์ สำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โดยสภาเทคนิคการแพทย์ ISO 15189, ISO 15190 โดย
ใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล