Page 561 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 561

N25


                    การพัฒนาการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรม



                                          อุดมรัตน์ เหงี่ยมโพธิ์ กลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ
                                         อมรรัตน์ อินทร์แก้ว, รักชนก อาษา, เสาวนีย์ รัศมีรัตน์ หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรม
                                                                    โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เขตสุขภาพที่ 6
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         เชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษเป็นเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพแทบทุกขนานที่เป็นปัญหาสำคัญที่พบบ่อย
                  ในหอผู้ป่วยวิกฤต สำหรับหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมเป็นหอผู้ป่วยที่พบปัญหาเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษเป็น

                  อันดับต้นๆของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร แม้จะมีการดำเนินการป้องกันและควบคุมอย่างต่อเนื่อง
                  แต่จากข้อมูลการเฝ้าระวังตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560-2565 พบว่าเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

                  จาก 0.31 เป็น 7.81 ครั้งต่อ 1000 วันนอน จากการวิเคราะห์พบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การปรับบริบทจาก
                  หอผู้ป่วยสามัญเป็นหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรม 24 เตียง โดย 16 เตียงเป็นผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมที่มีภาวะ

                  เจ็บป่วยรุนแรงและได้รับการสอดใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องการการดูแล
                  อย่างใกล้ชิด แต่บุคลากรพยาบาลที่มีไม่เพียงพอกับภาระงาน และเป็นบุคลากรพยาบาลใหม่ที่มีทักษะและ
                  ประสบการณ์ปฏิบัติการพยาบาลไม่ครอบคลุม ประกอบกับสถานการณ์โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำที่ผ่านมา ทำให้งาน
                  ควบคุมและป้องกันการติดเชื้อจัดการประชุมให้ความรู้และทักษะแก่บุคลากรพยาบาลไม่ครบตามแผนที่กำหนด

                  ส่งผลให้ความรู้และทักษะของบุคลากรพยาบาลในการป้องกันเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษลดลง
                         การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ ซึ่งการใช้กลยุทธ์เชิงระบบในการ
                  จัดการทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพบริการอย่างเป็นระบบภายใต้ข้อจำกัด จากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมา

                  พบว่า แนวคิดวงจรควบคุมคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Cycle) เป็นการปรับปรุงกระบวนการทำงาน
                  อย่างเป็นระบบ มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาโดยบุคลากรมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาอุปสรรคในทุกขั้นตอนการ
                  ทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ามีการนำแนวคิดกระบวนการพัฒนาคุณภาพของวงจรเดมมิ่ง
                  ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี ทำให้เกิดแนวปฏิบัติ
                  ทางการพยาบาลที่สามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตได้ และส่งผลให้จำนวน

                  วันนอน ค่าใช้จ่ายในการรักษา และอัตราตายของผู้ป่วยลดลง
                         จากปัญหาและการทบทวนวรรณกรรมข้างต้น ผู้วิจัยในฐานะพยาบาลควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ
                  ในโรงพยาบาลและหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรม จึงสนใจนำแนวคิดวงจรควบคุมคุณภาพของเดมมิ่งมาใช้เพื่อ

                  พัฒนาการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรม ซึ่งคาดว่าจะทำให้อัตรา
                  การเกิดเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษและการติดเชื้อจากเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษลดลง ส่งผลให้วันนอนรับการรักษา
                  ค่ายาต้านจุลชีพ และอัตราตายของการติดเชื้อจากเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษลดลง

                  วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษในหอผู้ป่วย
                  กึ่งวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โดยใช้แนวคิดวงจรควบคุมคุณภาพ

                  วิธีการศึกษา
                         การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ที่ผ่านคณะกรรมการคัดกรองและจริยธรรมสำหรับงานวิจัย
                  โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร รหัส IRB-BHUBEJHR-188 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบจำเพาะเจาะจง คือ
                  ผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรม จำนวน 590 ราย เป็นกลุ่มก่อนการพัฒนา
   556   557   558   559   560   561   562   563   564   565   566