Page 559 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 559

N23

                      ขั้นตอน                  บทบาทของเจ้าหน้าที่ห้องยา                        รูปภาพ
                     Double      เจ้าหน้าที่เภสัชกรรมหรือเภสัชกร ตรวจสอบความถูกต้องของ
                      check      การจัดยาและยืนยันการแก้ไขการเกิดอันตรกริยาระหว่างยา





                    Dispensing  เภสัชกรที่ทำหน้าที่จ่ายยายืนยันการแก้ไขการเกิดอันตรกริยา
                                 ระหว่างยาและตรวจสอบความถูกต้องก่อนการจ่ายยา





                  ผลการศึกษา

                                                                                                 หลังดำเนินงาน
                                                                                  ก่อนดำเนินงาน
                                        ตัวชี้วัด                      เป้าหมาย                     (ต.ค.66-
                                                                                     ปี 2566
                                                                                                    มี.ค.67)
                   จำนวนผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับการเปลี่ยนสูตรยา (N=240 คน)           94 คน          240 คน

                   1. ค่าเฉลี่ยระยะเวลารอรับบริการคลินิกยาต้านไวรัสเอชไอวี  80 นาที   117              76
                   2. ร้อยละผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับการเปลี่ยนสูตรยามีการ  >80        60.63%          99.16%
                   บันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ                                       (57/94 คน)     (238/240 คน)

                   ผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับยาเมทฟอร์มิน (N=14 คน)                     10 คน           14 คน
                   3. ผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับการเปลี่ยนสูตรยามีการใช้ยาเมท  100%      71.42           100
                   ฟอร์มิน                                                         (10/14 คน)      (14/14 คน)
                   4. ร้อยละผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับการเปลี่ยนสูตรยามีการใช้   0      70.00%            0

                   ยาเมทฟอร์มินขนาดเกิน 1,000 มิลลิกรัม/วัน                         (7/10 คน)        (0 คน)

                  อภิปรายผล: คลินิกยาต้านไวรัสเอชไอวี โรงพยาบาลบ่อพลอย มีผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 89.00 ที่ต้อง
                  เปลี่ยนมาใช้สูตรที่มียาโดลูเทกราเวียร์ (Dolutegravir (DTG)) จากการทบทวนข้อมูลหลังจากเริ่มมีการเปลี่ยน
                  สูตรยาพบว่า มีความคลาดเคลื่อนทางยาเกิดขึ้นค่อนข้างมาก ซึ่งเกิดจากบุคคลากรขาดความรู้เกี่ยวกับยา

                  ขาดเครื่องมือและระบบการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการใช้ยา
                  ฝ่ายเภสัชกรรมจึงร่วมกับคลินิกยาต้านไวรัสเอชไอวี พัฒนาระบบการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นผ่านเครื่องมือและ
                  นวัตกรรมที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อที่จะได้เพิ่มความปลอดภัยในช่วงเปลี่ยนสูตรยาโดลูเทกราเวียร์ หลังดำเนินงาน
                  พบว่า ร้อยละความร่วมมือของบุคคลากรอยู่ที่ 99.00 ผลลัพธ์ทำให้ผู้ป่วยได้รับการบริการที่เร็วขึ้น, ผู้ป่วย

                  มีความปลอดภัยมากขึ้นจากการพัฒนาระบบป้องกันการจ่ายยาที่มีอันตรกริยาระหว่างยา (Drug-Drug
                  interaction) ซึ่งหลังการพัฒนาระบบไม่มีผู้ป่วยคนใดได้รับยาที่เกิดอันตรกริยาระหว่างยาที่อันตราย

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         1.  การปฏิบัติงานที่มีการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ ช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น สามารถลด
                  ความคลาดเคลื่อนและทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากขึ้น

                         2.  แนวคิดการทำแบบบันทึกสามารถประยุกต์ใช้กับคลินิกโรคอื่นๆ ได้ เช่น คลินิกโรคหืด/โรคปอด
                  อุดกั้นเรื้อรัง, คลินิกวัณโรค เป็นต้น
   554   555   556   557   558   559   560   561   562   563   564