Page 578 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 578
N42
ในการสำรวจข้อมูลของวัด การเก็บรวบรวมข้อมูลวัด จำนวน 16 แห่ง จากทั้งหมด 16 ตำบล
เมื่อพิจารณาพบว่าวัดส่วนใหญ่เป็นการนับถือนิกาย มหานิกาย และ ระยะเวลาการต่อตั้งวัดอยู่ในช่วง 15-20 ปี
รองลงมาคือ >20 ปี และทุกวัดมีมัคทายก
ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของวัด ประเภทของวัด
ข้อมูลทั่วไปของวัด จำนวน ร้อยละ
(แห่ง)
มหานิกาย 12 75.00
ธรรมยุติกนิกาย 4 25.00
เวลาก่อตั้งวัด(ปี)
<5 ปี 2 12.50
5-10 ปี 2 12.50
10-15 ปี 3 18.75
15-20 ปี 5 31.25
>20 ปี 4 25.00
มัคทายก
มี 16 100.00
ไม่มี 0 0
2. ตู้ยาในวัด
จากการสำรวจข้อมูลพบว่ามีวัดเพียง 5 แห่ง เท่านั้นที่มีตู้ยาแยกเฉพาะเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน วัดที่เหลือ
จะมีการใช้ชั้นวางเก็บรวมกับสิ่งของอื่นๆ เช่น เสื่อ สบู่ และในบางแห่งใช้ถุงพลาสติกหรือกระเป๋าในการเก็บยา
เท่านั้น (ตารางที่ 2) โดยสามารถแบ่งลักษณะตู้ยาภายในวัดได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
2.1 ใช้ถุงพลาสติกหรือกระเป๋า โดยส่วนใหญ่จะมีการวางพื้น หรือกั้นบริเวณบางส่วน พบว่า
มีจำนวนวัด 4 แห่ง ที่มีลักษณะการจัดเก็บรักษายาในวัดที่มีการใช้ถุงพลาสติกหรือกั้นบริเวณบางส่วนไม่มีการ
แยกตู้หรือชั้นอย่างชัดเจน โดยจะใช้พื้นที่ร่วมกับห้องเก็บของอื่นๆ มีการจัดแบ่งพื้นที่เล็กๆ ของห้องเก็บของ
เป็นที่วางถุงยา หรือกั้นด้วยแผ่นไม้ เพื่อให้ พระ เณร และญาติโยมได้มียารักษาในเวลาที่เจ็บป่วย
2.2 ไม่มีตู้หรือตู้แยกเฉพาะ จัดเก็บยาในตู้ ชั้น พบว่าในวัดจำนวน 7 แห่ง ไม่มีตู้หรือชั้นเฉพาะ
ในการเก็บรักษายา มีเพียงตู้ที่ใช้สำหรับเก็บสิ่งของอื่นๆ เท่านั้น โดยชั้นถูกวางไว้ที่ห้องเก็บของของวัด วัดที่พบ
ส่วนใหญ่เป็นวัดที่ห่างไกลจากชุมชน
2.3 มีตู้แยกเฉพาะเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน มีวัดเพียง 5 แห่ง เท่านั้นที่มีลักษณะของตู้ยาที่มีการแยก
เฉพาะเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน โดยทั้งหมดเป็นวัดที่อยู่ใกล้ชุมชนและถึงจะมีตู้ที่ใช้เก็บยา แต่ก็ยังไม่ได้รับ
การจัดการที่ดี ยังพบว่ามีการวางยารับประทานและยาสำหรับใช้ภายนอกวางอยู่ปะปนกัน