Page 576 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 576

N40

                         3. อัตราการเกิดเชื้อยาดื้อยาที่เฝ้าระวังลดลง
                            ข้อมูล             ปี 62       ปี 63        ปี 64        ปี 65         ปี66

                                                                                               (6 เดือนแรก)
                   เชื้อดื้อยา
                   -  CoRO (E.coli)              0         0.11         0.21         0.1            0
                   -  CoRo ( A.buamannii )     0.75        0.61         0.24         5.87          8.72

                   - CoRo ( P.aeruginosa )     0.00        2.91         0.71         0.75           0
                   - CoRO ( K.pneumonie )      6.56        17.59        19.8        12.40          9.53


                   DDD: Colistin               7.97        9.02         9.52         10.2          9.79

                  อภิปรายผล: การศึกษาครั้งนี้เป็นการดำเนินงานแบบสหสาขาวิชาชีพที่แต่ละบุคลากรทางการทางแพทย์

                  ทำหน้าที่ในส่วนที่รับผิดชอบให้เกิดการเชื่อมโยงของข้อมูลในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงาน
                  จากผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการสั่งใช้ยาเป็นไปตามเกณฑ์ทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งมีค่าสูงกว่า
                  เมื่อเปรียบเทียบกับการประเมินในปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 88 และสอดคล้องกับการศึกษาของมรกตที่พบว่า
                  การดำเนินการส่งเสริมและกำกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม (Antimicrobial Stewardship Program;

                  ASP) โดยมีเภสัชกรสัมพันธ์กับความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาที่มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.008)
                  ในด้านผลลัพธ์ของการใช้แนวทางการควบคุม กำกับติดตามการสั่งใช้ยา Colistin พบว่า ปริมาณการใช้ยาในรูป
                  DDD และ อัตราการเกิดเชื้อยาดื้อยาที่เฝ้าระวังลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับผลก่อนการดำเนินงาน สอดคล้องกับ
                  การศึกษาของยุทธชัย และของพรรณี ที่พัฒนาระบบติดตามการใช้ยาสามารถลดปริมาณและมูลค่าการ

                  ใช้ยาปฏิชีวนะได้เช่นกัน

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         การดำเนินงานแบบสหสาขาวิชาชีพสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ
                  โดยอาศัยกลยุทธ์ในการส่งเสริมและกำกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในรูปแบบบูรณาการ และต้องเป็น
                  การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

                         ข้อจำกัดเป็นผลการศึกษาในช่วงเวลาสั้นๆ  ควรมีการขยายระยะเวลาออกไปเพื่อประเมินผลลัพธ์
                  ที่ต่อเนื่อง และสามารถนำไปต่อยอดกับรายการยาตัวอื่นๆได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านอัตรากำลังที่ต้อง
                  ปฏิบัติงานประจำเต็มเวลาอยู่แล้ว ทำให้บางครั้งต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการโดยเฉพาะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

                  ด้านโรคติดเชื้อ
   571   572   573   574   575   576   577   578   579   580   581