Page 577 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 577
N41
โครงการพัฒนาระบบยาในวัด ในเขตอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
เภสัชกรหญิงสุกัญญา นำชัยทศพล, เภสัชกรวิษณุ ยิ่งยอด, เภสัชกรอิศรักษ์ เหลาคม
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เขตสุขภาพที่ 8
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ความเจ็บป่วยหรือปัญหาสุขภาพ เมื่อเกิดขึ้นทุกคนต้องการที่จะดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีหรือหายจาก
ความเจ็บป่วยเบื้องต้น แต่เมื่อเกิดปัญหาที่เจ็บป่วยเรื้อรังแล้ว ย่อมต้องเพิ่มระดับความใส่ใจต่อสุขภาพมากขึ้น
เพื่อปรับตัวและสร้างเสริมพลังให้สมดุลกับวิถีความเป็นอยู่และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงเพื่อป้องกัน
ภาวะแทรกซ้อน การอยู่ในเพศบรรพชิตจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามกฎของพระสงฆ์ที่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป
มีข้อปฏิบัติทางดำเนินชีวิตที่เป็นกลางตามธรรมชาติ พระสงฆ์มีข้อจำกัดของการรับรู้ต่อโรคและความเจ็บป่วย
ด้วยโรคเรื้อรัง พระสงฆ์ที่อาพาธต้องดูแลตนเอง การได้รับการบริการและการปรับตัวในการอยู่กับโรคเรื้อรัง
ที่อาพาธยาวนานหรือตลอดชีวิต จากข้อมูลรายงานอุบัติการณ์พระเณรเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจาก
การใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสม เกิดอาการไม่พึงประสงค์จาการใช้ ร้อยละ 0.05 นอกจากนี้
ยังมีพระสงฆ์จำนวนหนึ่งที่ต้องรับยาโรคเรื้อรัง และมีการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง ต้องให้คำปรึกษา มีบางส่วนที่ไม่ให้
ความร่วมมือในการใช้ยา (Non compliance) นอกจากนี้ยังเจอยาอันตรายในชุดสังฆทาน อีกทั้งพระ
ยังมีพฤติกรรมการเอายาพระองค์อื่นมาใช้
อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร นั้นมีจำนวนวัดกระจายอยู่ในพื้นที่ทั้ง 16 ตำบล ซึ่งวัดแต่ละแห่ง
จะมีรูปแบบการดำเนินงานในการให้บริการสุขภาพที่มีความแตกต่างกัน ผู้วิจัยหวังพัฒนาในเชิงพื้นที่แบบ
บูรณาการเพื่อให้เป็นอำเภอต้นแบบในการแก้ไขปัญหาในมิติด้านต่างๆในชุมชนและข้อมูลการจัดการยาในวัด
ทั้งในเรื่องระบบยาในวัด ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่พระ เณร แม่ชี นำมาใช้ ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุด
สังฆทาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการจัดการด้านระบบยาในวัดเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน ผลที่ได้จากการศึกษานี้ทำให้
ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับการบริหารจัดการด้านระบบยาในวัดอย่างแท้จริงและร่วมกันกับเครือข่ายเพื่อพัฒนา
รูปแบบการจัดการด้านระบบยาที่มีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์การศึกษา:
เพื่อพัฒนาการบูรณาการทำงานร่วมกันของหน่วยงานสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ
เครือข่ายประชาชน เครือข่ายวัด พระสงฆ์ ในเขตอำเภอสว่างแดนดิน ในการเฝ้าระวัง
และจัดการยาในวัด
วิธีการศึกษา:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เก็บรวบรวมข้อมูลวัดคัดเลือกแบบ
เฉพาะเจาะจง จำนวน 16 แห่ง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมิน
มาตรฐานตู้ยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics)
ผลการศึกษา: งานวิจัยครั้งนี้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากวัดจำนวน 16 แห่ง ได้จากวัดในแต่ละตำบลทั้งหมด
16 ตำบล ตำบลละ 1 แห่ง และมีผลการวิจัยแบ่งเป็น 3 ส่วน
1. ข้อมูลทั่วไปของวัด