Page 598 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 598

O12




                     การพัฒนาแนวทางการดูแลต่อเนื่องทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักระยะกลาง

                                             (Intermediate care)  ในเขตอำเภอหัวหิน

                                                                                     นางสาวณัฐนันท์ แซ่ตั้ง , นางสาวสุธินี เอนกศุพล

                                                                                                       โรงพยาบาลหัวหิน เขตสุขภาพที่ 5
                                                                                    ประเภท วิชาการ Poster Presentation

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         กระดูกสะโพกหัก (hip fracture) พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง

                  ภายในของเนื้อเยื่อกระดูก ทำให้มวลกระดูกลดลงร่วมกับมีการเสื่อมทำให้กระดูกบางลง ส่งผลให้เกิด
                  โรคกระดูกพรุนและภาวะกระดูกหักได้ง่าย เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต อีกทั้งเสี่ยงต่อการเกิด
                  ภาวะแทรกซ้อนจากการถูกจำกัดการเคลื่อนไหว เช่น ปอดอักเสบ แผลกดทับ การติดเชื้อในร่างกาย กล้ามเนื้อ
                  ลีบ ข้อยึดติด ทำให้ผู้ป่วยตกอยู่ในภาวะพึ่งพิงรู้สึกเป็นภาระของผู้อื่น ส่งผลกระทบต่อด้านจิตใจ ทำให้เกิด

                  ความวิตกกังวล หรือมีอาการซึมเศร้า และการรับรู้คุณค่าในตนเองลดลง
                         ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากสถิติผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่เข้ามารับ
                  การรักษาที่โรงพยาบาลหัวหินและแพทย์ได้ส่งปรึกษากายภาพบำบัดมีดังนี้ปี 2562,2563,2564,2565 และ
                  2566 มีผู้ป่วยจำนวน 17,67,16, 97 และ 62 รายตามลำดับ และพบอัตราการเสียชีวิตภายในระยะเวลา 6

                  เดือน หลังจำหน่ายในปี 2565 และ 2566 จำนวน  4  และ 3  ตามลำดับ  คิดเป็นร้อยละ 16.67 และ 10.34
                  ตามลำดับ ซึ่งหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดและแพทย์จำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านพบว่ามีการ
                  นัดผู้ป่วยหลังจำหน่ายล่าช้า ไม่สามารถนัดผู้ป่วยทันทีหลังแพทย์จำหน่าย อีกทั้งผู้ป่วยบางรายไม่สะดวก
                  เดินทางมาติดตามการรักษาต่อเนื่องตามนัดได้เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีญาติดูแล

                  ญาติไม่สะดวกพามาทำกายภาพบำบัดและไม่สามารถปฏิบัติตาม home program ได้ถูกวิธีหลังจำหน่าย จึงทำ
                  ให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการฟื้นฟูร่างกายอย่างต่อเนื่องจนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
                         ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักระยะกลาง (Intermediate Care) อย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหก
                  เดือนทอง (Golden period) มีความสำคัญเนื่องจากเกิดความต่อเนื่องในการฟื้นฟูร่างกาย ลดภาวะแทรกซ้อน

                  และทุพพลภาพได้  นอกจากการได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลแล้ว การได้รับการดูแลต่อเนื่องจากชุมชน
                  เช่น จาก อสม. ผู้นำชุมชน หรือนักบริบาลชุมชน ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องเชิงรุก เพื่อส่งเสริม ป้องกัน
                  และฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยให้ผู้ป่วยมีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้นได้

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อให้ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในเขตอำเภอหัวหิน ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลหัวหิน ได้รับการ

                  ฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องครบ 6 เดือน สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยมีคะแนน Barthel index
                  เพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 60  และไม่เกิดการหักซ้ำ ร้อยละ 0

                  วิธีการศึกษา
                                 3.1 ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการรักษาที่
                  โรงพยาบาลหัวหิน และอาศัยอยู่ในเขตอำเภอหัวหิน  ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2565 ถึงเดือนธันวาคม 2566

                  จำนวน 46  คน
                             3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
                                3.2.1 ข้อมูลทั่วไป
   593   594   595   596   597   598   599   600   601   602   603