Page 594 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 594

O8


                  พึงพอใจการใช้สื่อ VDO ระดับมากที่สุดด้านเนื้อหา/รูปแบบ พบว่าเข้าใจในทันที ไม่ซับซ้อน ด้านความรู้ ความ

                  เข้าใจ พบว่าสามารถนำไปปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
                         4. ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยมีคะแนน BI เพิ่มขึ้น/ไม่ลดลง


                        ปี 2563           ปี 2564            ปี 2565           ปี 2566           ปี 2567
                                                                                              (ต.ค.-พ.ย.ปี67)
                       89.32%             90.21%             94.01%             82.68            93.06%
                      (184/206)          (295/327)         (204/217)          (339/410)          (67/72)


                  อภิปรายผล
                         ผลการศึกษานี้ พบว่าการออกแบบระบบที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลโดยใช้ระบบ IT ในการบันทึก ส่งต่อ
                  และประมวลผลข้อมูลของผู้ป่วยจากหอผู้ป่วยจนถึงระดับโรงพยาบาลชุมชนตามภูมิลำเนาผู้ป่วย (ระบบ
                  Intranet) นำไปปฏิบัติได้จริงในกลุ่มบุคลากรสหวิชาชีพ ผู้ป่วยได้รับการประเมินบริบาลฟื้นฟูที่รวดเร็วติดตาม
                  เยี่ยมบ้านจนครบระยะ IMC ได้รับข้อมูลตอบกลับแสดงผลบน Dashboard แบบ real time ยังช่วยกระตุ้น

                  การทำงานของเครือข่าย
                         อย่างไรก็ตาม ได้มีการพัฒนาความรู้และทักษะของกลุ่มสหวิชาชีพ และกลุ่มผู้ดูแลและอาสาสมัคร โดย
                  เน้นความรู้ทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติจริง ให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีและถูกต้องตามสภาพปัญหา ทำให้ร้อย

                  ละค่าคะแนน BI ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นหรือไม่ลดลง ในปี 2564 และปี 2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนในปี 2566 ลดลง
                  เนื่องจากมีผู้ป่วยคัดเข้า BI< 4/20 ร่วมกับไม่มีศักยภาพในการฟื้นฟูจำนวนมาก ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ไม่สะดวกมารับ
                  บริการแบบผู้ป่วยนอก จำนวนครั้งที่ได้รับบริการกายภาพบำบัดแบบเยี่ยมบ้านยังน้อย ปลายปี 2566 จึงได้
                  พัฒนาสื่อ VDO การดูแลผู้ป่วยกลุ่ม IMC 2 ภาษา (ภาษาไทยและยาวี) อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีค่า BI เพิ่มขึ้น

                  ส่งผลให้ผู้ป่วยพัฒนาความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยให้ดีขึ้น จนส่วนหนึ่งสามารถช่วยเหลือ
                  ตนเอง กลับมาทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         การมีเครือข่ายและระบบการดูแลและข้อมูลผู้ป่วยฟื้นสภาพระยะกลางรูปแบบเดียวกันทั้งจังหวัด
                  ร่วมกับบุคลากรระดับโรงพยาบาลและชุมชนถึงที่บ้านมีความรู้ ทักษะ และความมั่นใจที่จะลงมือทำจริงได้

                  ถูกต้องตรงตามปัญหา ทำให้ผู้ป่วยมีระดับ BI เพิ่มขึ้นหรือไม่ลดลง
                         ข้อเสนอแนะ: การพัฒนาระบบข้อมูลการดูแลฟื้นสภาพให้มีความเชื่อมโยงเป็นฐานข้อมูลเดียวกันทั้ง
                  จังหวัด ทุกสหวิชาชีพตามลำดับชั้นการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
   589   590   591   592   593   594   595   596   597   598   599