Page 604 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 604

O18


                    การพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพกลุ่มเปราะบาง และจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ

                              ชุมชน เทศบาลเมืองเมืองพลร่วมกับโรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น

                                                                                   แพทย์หญิงพนิดา พิทยกิตติวงศ์
                                                                        นางสุธาสินี พูลติกุล , นางสาววนิดา น้อมระวี

                                                                     โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7
                                                                                               ประเภทวิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         สถานการณ์ปัญหาในพื้นที่มีประชากรกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการมากขึ้น โดยมีประชากรที่มีอายุ 60 ปี

                  ขึ้นไป จำนวน 2,242 คน คิดเป็นร้อยละ 25 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
                  (มากกว่าร้อยละ 20) จากการคัดกรองโดยใช้แบบประเมินผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพตามความสามารถในการ
                  ประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ในปี 2565 มีผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจำนวน 62 คน ข้อมูลผู้พิการในเขต

                  อำเภอพล มีจำนวนทั้งหมด 4,044 คน เป็นผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวจำนวนกว่า 2,232 คน (ข้อมูลจาก พมจ.
                  ขอนแก่น ปี 2566) และในเขตเทศบาลเมืองเมืองพลมีผู้พิการอายุน้อยกว่า 60 ปี ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจำนวน 63
                  คน และแนวโน้มพบผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่มีแนวโน้มติดเตียงมากขึ้นทุกปี
                  ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มเปราะบาง ได้รับการดูแลโดยศูนย์ดูแลต่อเนื่อง และศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลพล

                  ร่วมกับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการดูแลผู้ป่วยระยะยาวของสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
                  ที่ได้รับการบริหารจัดการภายใต้เทศบาล แต่ยังไม่ครอบคลุมในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟื้นฟูระยะกลางและ
                  ในกลุ่มผู้มีแนวโน้มติดเตียง ซึ่งกลุ่มเปราะบางเหล่านี้มีความต้องการการดูแลที่จำเพาะ ทั้งเรื่องฟื้นฟูสมรรถภาพ
                  ร่างกาย การป้องกันภาวะแทรกซ้อน ความต้องการผู้ดูแล อุปกรณ์ในการช่วยเคลื่อนไหว การปรับ

                  สภาพแวดล้อมทั้งภายในบ้าน และสภาพแวดล้อมในสังคมเพื่อเอื้อต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงคุณภาพชีวิต
                  ที่ดีขึ้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วนเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดูแล

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1)  เพื่อสร้างอาสาสมัครฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน
                         2)  เพื่อพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพกลุ่มเปราะบาง
                         3)  เพื่อจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชน

                         4)  เพื่อให้กลุ่มเปราะบางมีสมรรถภาพที่ดีขึ้น ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

                  วิธีการศึกษา
                         ใช้หลักการในการแก้ไขปัญหา Community-oriented Primary Care (COPC) ประกอบด้วย การ
                  นิยามประชากรที่รับผิดชอบและกำหนดกลุ่มชุมชน การสำรวจและค้นหาปัญหาของสุขภาพชุมชน การจัดทำ
                  โครงการเพื่อแก้ไขปัญหา และการติดตามประเมินผล โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาคือ ต้นไม้ปัญหา

                  และ เครื่องมือที่ใช้กำกับติดตามคือ บันไดผลลัพธ์ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้น คือ 1) จัดตั้งคณะกรรมการที่
                  ประกอบไปด้วยเครือข่ายบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนอสม.และภาค
                  ประชาชน 2) จัดอบรมแกนนำฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชน โดยมีชุดความรู้หลัก ประกอบด้วย การดูแลพฤติกรรม

                  สุขภาพ การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม และการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการสังคม 3) ลงพื้นที่เพื่อ
                  ประเมินและดูแลกลุ่มเป้าหมายในชุมชน (Case-based learning) จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชน ให้
   599   600   601   602   603   604   605   606   607   608   609