Page 609 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 609

O23




                  อภิปรายผลการศึกษา: จากผลการศึกษาพบว่าภายหลังการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการทำ
                  กายภาพบำบัดอาสาสมัครมีระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและความสามารถในการทรงตัว
                  เพิ่มขึ้นซึ่งสอดคล้องการศึกษาของ วรุณนภา ศรีโสภาพ และคณะ,2561 พบว่าการฟื้นตัวทางการเคลื่อนไหว

                  ภายหลังเกิดพยาธิสภาพของผู้ป่วยระบบประสาทแต่ละรายมักมีความแตกต่างกันทั้งในด้านระยะเวลาและ
                  ปริมาณการฟื้นตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาด ตำแหน่ง และความรุนแรงของพยาธิสภาพ โดยการฟื้นตัวส่วนใหญ่จะ
                  เกิดขึ้นภายใน 3 เดือนแรกหลังจากและจะช้าลงหลังจากเกิดพยาธิสภาพแล้ว 6 เดือน (3) ดังนั้นการพัฒนา

                  นวัตกรรมเพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าถึงการบริการทางฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเหมาะสมในช่วงระยะทอง (
                  Golden Period ) จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น นอกจากนั้นผลการศึกษาในครั้งนี้ยังมีความสอดคล้องกับ
                  การศึกษาของนงนุช ล่วงพ้นและคณะ, 2561 ที่พัฒนานวัตกรรม TU gait trainer และประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโรค
                  หลอดเลือดสมองผลการศึกษาพบว่าเครื่องฝึกเดิน TU gait trainer สามารถเพิ่มการทำงานของรยางค์ล่าง

                  ระยะทางในการเดินและความเร็วในการเดินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายหลังการฝึกเดิน 8 สัปดาห์ (2)
                  สืบเนื่องจากปัญหาในการขาดเครื่องมือฝึกการลงน้ำหนักและการทรงตัวนักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลนาแก

                  จึงได้มีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเป็นการประยุกต์ใช้ทดแทนเครื่องมือฝึกการทรงตัวที่มีราคาสูงและต้องนำเข้า
                  จากต่างประเทศ สร้างโอกาสการเข้าถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพในกลุ่มผู้ป่วยระยะกลางในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

                  สรุปและข้อเสนอแนะ : การนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดอาสาสมัครมีระดับ
                  ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและความสามารถในการทรงตัวเพิ่มขึ้น ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะใน

                  การปรับปรุงผลงานดังนี้ นวัตกรรมดังกล่าวเป็นเครื่องมีที่ให้การป้อนกลับทางเสียง ซึ่งมีเสียงตอบกลับค่อนข้าง
                  เบา อาจจะจำให้ผู้ใช้งานที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เช่น ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน ไม่ตอบ
                  สนองตอบการฟื้นฟูอย่างเต็มที่ ดังนั้นผู้พัฒนาจึงมีแนวคิดที่จะต่อยอดผลการเป็นการให้การป้อนกลับการลง
                  น้ำหนักแบบตัวเลขดิจิตอลที่โชว์บนหน้าจอและการป้อนกลับด้วยแสงและสีในอนาคต อ้างอิง : 1.สถาบันเวช

                  ศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์. (2563) คู่มือแนวทางปฏิบัติการฟื้นฟู
                  สมรรถภาพผู้ป่วยสูงอายุระยะกลาง  (Guideline for Intermediate Care in the elderly) 2. นงนุช ล่วงพ้น
                  , ธนพล ลัคนาวัฒน์ ,บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ และพัชรี คุณค้ำชู. (2561).การเดินที่ดีขึ้นภายหลังการฝึกเดิน ๘

                  สัปดาห์ด้วยเครื่องฝึกเดิน TU gait trainer ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรัง. ธรรรมศาสตร์เวชสาร
                  ,18(3),322-329 3.วรุณนภา ศรีโสภาพ, น้อมจิตต์ นวลเนตร์,ชกร สมโนชัย, นันทินี กะรินตา และ ปารีณา
                  จรุงธนะกิจ. (2562). ความสามารถในการทำงานของรยางค์ส่วนบนในผู้ที่มีโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรังใน

                  ชุมชนของมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารกายภาพบำบัด ,41(2),60-74.
   604   605   606   607   608   609   610   611   612   613   614