Page 616 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 616

O30


                              การฟื้นฟูผู้ป่วยระยะเปลี่ยนผ่านกึ่งเฉียบพลัน (Intermediate Care)

                                          โดยทีมสหวิชาชีพสู่การดูแลต่อเนื่องในชุมชน

                                                                     นายวิเชียร มิตรมาตร แพทย์แผนไทยชำนาญการ

                                                            นางสาวจันทร์เพ็ญ ปักการะโน นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ
                                            โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ เขตสุขภาพที่ 9
                                                                                 ประเภทนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์



                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         กระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงความจำเป็นของการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (IMC) จึงได้กำหนด

                  นโยบายให้สถานพยาบาลของรัฐและภาคีเครือข่ายสุขภาพจัดให้บริการผู้ป่วย IMC โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่มโรค
                  ได้แก่ โรคหลดเลือดสมอง (Stoke), สมองบาดเจ็บ (Traumatic Brain Injury), ไขสันหลังบาดเจ็บ (Spinal
                  cord injury), กระดูกสะโพกหัก (Fracture hip) โดยมีการจัดบริการแบบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และบริการ
                  ในชุมชน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจนำไปสู่ความพิการ และเพิ่มความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน

                  ของผู้ป่วยให้ดีขึ้น
                         โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด F2 ไม่มีแพทย์เฉพาะทางสาขาหลัก พื้นที่ยัง
                  มีความเป็นชนบท มีจำนวนผู้ป่วย Intermediate Care เพิ่มมากขึ้นทุกปี (ปีงบประมาณ 2565 - 2567 จำนวน
                  94 ราย, 202 ราย และ 132 ราย ตามลำดับ) แม้ว่ามีการให้บริการดูแลผู้ป่วย IMC แบบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน

                  และติดตามเยี่ยมบ้าน จากการทบทวนพบว่า ผู้ป่วย Intermediate Care ได้รับบริการการฟื้นฟูล่าช้า ไม่
                  ต่อเนื่อง เนื่องจากการส่งต่อข้อมูลของผู้ป่วยไปยัง รพ.สต.มีความล่าช้า ไม่ครบถ้วน สมบูรณ์ และออกให้บริการ
                  ติดตามเยี่ยมบ้านสัปดาห์ละ 1 วัน กอปรกับเขตรับผิดชอบมีพื้นที่ขนาดใหญ่และห่างไกลจากโรงพยาบาล ทำให้

                  ผู้ป่วยขาดโอกาสในการเข้าถึงการฟื้นฟูร่างกาย ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะนำไปสู่ความพิการได้
                  ทีมผู้ให้บริการได้เล็งเห็นความสำคัญการดูแลผู้ป่วย Intermediate Care เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการมากยิ่งขึ้น
                  จึงได้พัฒนาการให้บริการการฟื้นฟูผู้ป่วยระยะเปลี่ยนผ่านกึ่งเฉียบพลัน (Intermediate Care) โดยทีมสห
                  วิชาชีพ สู่การดูแลต่อเนื่องในชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการฟื้นฟูได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

                  วัตถุประสงค์

                         1. เพื่อพัฒนาการให้บริการการฟื้นฟูผู้ป่วย Intermediate Care โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ ร่วมกับ
                  เครือข่าย รพ.สต.
                         2. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการฟื้นฟูของผู้ป่วย Intermediate Care ได้อย่างต่อเนื่อง
                         3.  ผู้ป่วย IMC ได้รับการฟื้นฟูติดตามครบ 6 เดือน หรือจนมี Barthel index of ADL = 20 ร้อยละ 80

                         4. ผู้ป่วย IMC ได้รับการดูแลด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร้อยละ 10

                  วิธีการศึกษา
                         1) จัดประชุมทีมสหวิชาชีพ คณะทำงาน ทบทวนผลการดำเนินงาน และวิเคราะห์โอกาสในการพัฒนา
                  เพิ่มการเข้าถึงบริการได้อย่างต่อเนื่องในชุมชน สำหรับผู้ป่วย Intermediate Care
                         2) พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ผ่านการอบรมด้านการดูแลผู้ป่วย IMC ของแต่ละวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ได้

                  ตามมาตรฐาน และมีคุณภาพ
   611   612   613   614   615   616   617   618   619   620   621