Page 619 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 619

O33


                      นวัตกรรม Balance training walker  เพื่อฟื้นฟูการทรงตัวและการเคลื่อนไหวขาของ
                                ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลตรัง





                                                      กภ. นิรัญญา  ชมภูนุช, กภ. วัชรินทร์ ทายะติ,  กภ. สุดาวดี พลชัย
                                                                                  โรงพยาบาลตรัง เขตสุขภาพที่12
                                                                                 ประเภทนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         เป็นที่ทราบดีว่า การฝึกกายบริหาร ที่ใช้หลักการฝึกแบบ biofeedback และหลักการการเรียนรู้การ
                  เคลื่อนไหว Motor relearning นั้น มีผลในเชิงบวกในการปรับปรุงการทำงานของระบบประสาทสั่งการ
                  เคลื่อนไหว และการทรงตัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้อย่างมีนัยสำคัญ  แต่เนื่องจากอุปกรณ์

                  ประกอบการฝึกดังกล่าว ส่วนมากมีราคาสูง เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงของผู้ป่วยจำนวนมาก ผู้วิจัยจึงได้คิด
                  พัฒนาอุปกรณ์วอร์คเกอร์ช่วยฝึกการทรงตัว  (Balance training walker ,BTW) ขึ้นมา เพื่อหวังผลในการฝึก
                  ที่ทำได้ง่าย ใช้งานได้จริง และผู้ป่วยสามารถนำไปฝึกต่อที่บ้านหรือในชุมชนต่อไป

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         เพื่อศึกษาผลของการใช้ BTW กับการฝึกแบบมาตรฐานต่อการฝึกการทรงตัวและความพึงพอใจของ
                  ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

                  วิธีการศึกษา
                         การวิจัยครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างการวิจัยผ่านการพิจารณาและได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรม
                  เกี่ยวกับการวิจัยในมนุษย์ของ รพ.ตรัง รหัสหนังสือรับรอง ID 030/05-2564 ลงวันที่ 19 พค. 2564 และ ID

                  023/06-2565 ลงวันที่ 13 มิย. 2565 ซึ่งเป็นการวิจัยแบบทดลอง (experimental study) ในผู้ป่วยโรคหลอด
                  เลือดสมองของ รพ.ตรัง ระหว่าง มิถุนายน 2564 - มีนาคม 2566 โดยคัดเลือกผู้ป่วย 24 คน ที่มีผลของระดับ
                  sitting balance ตั้งแต่ระดับ fair ขึ้นไป และมีความสามารถในการเดินได้ด้วยตนเอง (ใช้/ไม่ใช้อุปกรณ์ช่วย
                  เดิน) และผู้เข้าร่วมการวิจัยแบบสุ่ม ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม BTWกับกลุ่มฝึกกายภาพบำบัดมาตรฐาน จะ

                  ได้รับการประเมินการทรงตัว ด้วย Berg Balance Scale (BBS)  มี 14 กิจกรรม คะแนน 0-4 รวม 56 คะแนน
                  ,Timed Up and Go (TUG) ใช้ทดสอบในผู้สูงอายุหรือในผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยโรคสมองน้อย
                  และ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  ผู้ถูกทดสอบจะลุกจากเก้าอี้ เดินเป็นระยะทาง 3 เมตร แล้วหมุนตัวเดิน
                  กลับมานั่งที่เดิม ประเมินก่อนและหลังการรักษา สัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ นำมาวิเคราะห์

                  เปรียบเทียบผลก่อนและหลังรับการรักษา
                  ขั้นตอนจัดทำ นวัตกรรมวอร์คเกอร์ช่วยฝึกการทรงตัว มีวิธีการจัดทำดังนี้
                         1. เตรียมวัสดุในการจัดทำ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยเดินสี่ขา หรือ Walker 1 อัน และ กระดิ่งแขวนขนาด
                  เล็กหรือกลาง 8 อัน และ เชือกขนาดยาว 20 ซม. 8 ชิ้น

                         2. มัดกระดิ่งแขวนตามจุดต่างๆ ในราวของ Walker ดังภาพ
   614   615   616   617   618   619   620   621   622   623   624