Page 615 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 615

O29



                  ผลการดำเนินการ
                         ผลการศึกษาจากข้อมูลปี 2565 มีจำนวนผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันทั้งหมด 45 ราย  Re admit จำนวน

                  5 ราย ที่ไม่ได้ใช้แบบฟอร์ม Discharge Screening Criteria For IMC พบว่าผู้ป่วยกลับมา Re admit จาก
                  ภาวะปอดติดเชื้อ3ราย ติดเชื้อในร่างกาย1ราย และRecurrent Stroke1 ราย คิดเป็นร้อยละ11.1


                         ผลการศึกษาจากข้อมูลปี 2566 มีจำนวนผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันทั้งหมด 42 ราย

                  ใช้แบบฟอร์ม Discharge Screening Criteria For IMC ครบทั้งหมด 42 ราย พบว่าผู้ป่วยกลับมา Re admit
                  จาก Recurrent Stroke 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.38

                  อภิปรายผล
                         จากผลการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลปี 2565 ก่อนใช้แบบฟอร์ม และหลังใช้แบบฟอร์ม Discharge

                  Screening Criteria For IMC ปี 2566 ที่มีการประเมินความพร้อมทุกด้านในการเตรียมตัวของญาติในการดูแล
                  ผู้ป่วย และการประเมินอาการผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน ทำให้การกลับมารักษาซ้ำด้วยโรคเดิมหรือการมารักษาซ้ำ
                  จากภาวะแทรกซ้อนจากโรคเดิมลดลง คิดเป็นร้อยละ 2.38

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         1. พยาบาลประจำหอผู้ป่วยในตึกพิเศษสามารถใช้แบบฟอร์ม Discharge Screening Criteria For

                  IMC ได้ 100 % ญาติพึงพอใจในการเตรียมความพร้อมก่อนกลับ100% และเป็นการเฝ้าระวังอาการ
                  เปลี่ยนแปลงให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่ารวดเร็ว ทันเวลา ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยการเพิ่ม Mews
                  Score + DMETHOD ลดภาวะแทรกซ้อนเมื่อกลับบ้าน

                         2. ผู้ป่วยและญาติที่มีปัญหาทางด้านการเงินจะมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องค่าใช้จ่ายในการนอน
                  โรงพยาบาล การยืมอุปกรณ์เตียง ที่นอนลม เครื่องผลิตออกซิเจน การมาตรวจตามนัด ซึ่งการเตรียมความพร้อม
                  ก่อนกลับบ้านและแนะนำแหล่งประโยชน์ในชุมชนจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงระบบการบริการ
                  สุขภาพได้มากขึ้น
   610   611   612   613   614   615   616   617   618   619   620