Page 624 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 624

P1


                          แนวทางขับเคลื่อนเชิงรุก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติ่ง
                                                       แบบ Home ward



                                                                     รุ่งนภา ศักดิ์ตระกูล และนางสาวจีณะ  สิงหนาท
                                                       โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ เขตสุขภาพที่ 3
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความสำคัญของปัญหา
                         การดูแลต่อเนื่องของผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันที่ผ่านระบบบริการการผ่าตัดวันเดียวกลับ
                  เสมือนการติดตามในระบบบริการการผ่าตัดวันเดียวกลับ หลังการผ่าตัดใน 24, 48 และ 72 ชั่วโมง เพิ่มเติม

                  คือจำเป็นต้องมีวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องให้ผู้ป่วยและญาติกลับไปใช้ในการดูแลติดตามต่อเนื่องที่บ้าน
                  เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด เป็นต้น
                         แต่เดิม วิธีการดูแลผู้ป่วย Home ward จำเป็นต้องอาศัยผู้ดูแลที่บ้าน หรือ Care giver ค่อนข้างมาก

                  เพื่อรายงานข้อมูลคนไข้จากที่บ้าน ให้ทีมรักษาทราบ อีกทั้งยังต้องใช้เทคโนโลยีในการติดตามคนไข้ ดังนั้น
                  จึงเกิดช่องว่างและข้อจำกัดขึ้นมากมาย ส่งผลให้ ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพตามมารตฐาน ทีมรักษา
                  ไม่สามารถตรวจพบภาวะแทรกซ้อนและให้การรักษาช่วยเหลือได้ทันท่วงที
                         ช่องว่างระหว่างวัย ในกลุ่มผู้สูงอายุ มีข้อจำกัดในการใช้เทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์มือถือ  Line
                  telemedicine รวมไปถึงสัญญาณอินเตอร์เน็ตและสัญญาณโทรศัพท์มือถือ, ผู้ดูแล หรือ care giver ที่ไม่

                  สามารถดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้ สิ่งเหล่านี้คือปัญหาสำคัญ ที่ทีมงานผู้ดูแล พยายามลดช่องว่างและข้อจำกัดเหล่านี้
                  โดยเปลี่ยนแนวทางการดูแลผู้ป่วยให้เป็นแบบเชิงรุกแทนการรับข้อมูลจากผู้ป่วยฝ่ายเดียว

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         ศึกษาและสร้างแนวทางเชิงรุกอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ไส้ติ่ง
                  แบบ Home ward  โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์


                  วิธีการศึกษา
                         ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบแบบเฉียบพลันภายใต้ระบบบริการการผ่าตัดวันเดียว
                  ซึ่งต้องเป็นผู้ป่วยที่ถูกตรวจวินิจฉัยเป็นไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน เก็บข้อมูลลักษณะ
                  ประชากรของผู้ป่วยทั้งหมด ตั้งแต่ อายุ เพศ การช่วยเหลือตัวเอง ผู้ดูแล เศรษฐานะ ที่อยู่อาศัย การเดินทาง

                  มายังสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด แล้วรวบรวมปัญหาในการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยแบบ Home ward รวมถึง
                  ภาวะแทรกซ้อนที่พบที่บ้านในผู้ป่วยหลังผ่าตัด นำมาสร้างแนวทางเชิงรุก
                         แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยเชิงรุก ได้แก่ 1. พยาบาลหอผู้ป่วยหรือพยาบาลหน่วยผ่าตัดวันเดียวกลับ
                  คัดเลือกผู้ป่วยและญาติที่ร่วมดูแลหลังผ่าตัดไส้ติ่งแบบ Home ward ได้ โดยใช้เกณฑ์การประเมินที่ตั้งขึ้น เช่น

                  ทักษะการใช้เทคโนโลยี ขีดความสามารถของผู้ดูแล ซึ่งเป็นการคัดกรองเพิ่มอีก 1 ชั้นจากแนวทางปกติ เพื่อให้
                  มั่นใจว่า ผู้ป่วยจะปลอดภัยแม้อยู่บ้าน  2.ประสานงานและเพิ่มศักยภาพของหน่วยปฐมภูมิที่ดูแลรับผิดชอบการ
                  เยี่ยมบ้าน ที่ผู้ป่วยสามารถขึ้นทะเบียนและรับบริการเยี่ยมบ้านได้ (อสม. แพทย์ในหน่วยปฐมภูมิ หรือ รพช.)
                  ที่ได้รับการส่งต่อจากหอผู้ป่วย Step down-Home ward ของโรงพยาบาล เพื่อเข้าไปดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

                  ในผู้ป่วยที่ต้องดูแลใกล้ชิด บ้านไม่มีอินเตอร์เน็ตหรือสัญญาณโทรศัพท์ มีข้อจำกัดในการดูแลบางส่วน เช่น
                  การวัดไข้ การวัดออกซิเจน หากผู้ดูแลเป็นผู้สูงอายุ
   619   620   621   622   623   624   625   626   627   628   629