Page 653 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 653
P30
ผลการศึกษา
ตารางที่ 1 ร้อยละผลลัพธ์ในการใช้เครื่องเตือนสารละลายสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ(n=30) ครั้งที่ 1
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 -31 มีนาคม 2566 ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
ผลลัพธ์ เป้าหมายการ ผลลัพธ์การดำเนินการ
ดำเนินงาน ก่อนเริ่ม หลังดำเนินการโครงการ
โครงการ ครั้งที่1(ร้อยละ) ครั้งที่2(ร้อยละ)
อุบัติการณ์การเกิดการอุดตัน
ของสายสวนปัสสาวะขณะ CBI 0 20.83 0 0
อัตราความแม่นยำของอุปกรณ์ ≥ 90 NA 100 (N30) 100 (N30)
อัตราความพึงพอใจของ
บุคลากรต่อความสะดวกในการ ≥ 80 NA 82.35 (N 14) 94.11(N 16)
ปฏิบัติงาน
อภิปรายผลการศึกษา
ผลการใช้นวัตกรรมเครื่อง Sound Alarm Sensor พบว่าเครื่องส่งเสียงเตือนตามการตั้งค่าที่กำหนด
100 % เมื่อปริมาณสารละลายคงเหลือที่ 100 ซีซี ทำให้สามารถต่อสารละลายได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีภาวะลิ่มเลือด
อุดตันทางเดินปัสสาวะ พยาบาลสามารถใช้เครื่องเตือนสารละลายสวนล้างกระเพาะปัสสาวะแบบต่อเนื่อง
(Sound Alarm Sensor) ในการดูแลผู้ป่วย อัตราความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้นวัตกรรมอยู่ในระดับดี
มาก ร้อยละ 82.35 และ 94.11 % เนื่องจากการใช้งานไม่ยุ่งยากซับซ้อน
สรุปและข้อเสนอแนะ
เครื่อง Sound Alarm Sensor สามารถใช้งานได้ไม่ยุ่งยาก แต่ไม่สามารถส่งสัญญาณ เตือนจากภาวะ
ลิ่มเลือดอุดตันได้ ดังนั้นการปรับจำนวนหยดของสารละลายที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิด ลิ่มเลือดพยาบาล
ต้องมีสมรรถนะของในการสังเกตจากสีของปัสสาวะเป็นสำคัญในการปรับอัตราความเร็วของสารละลายในการ
สวนล้างกระพะปัสสาวะ
การนำผลงานไปใช้ประโยชน์
สามารถนำไปใช้ในหน่วยงานที่รับผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต ที่ทำผ่าตัดต่อมลูกหมากที่มีการสวนล้าง
กระเพาะปัสสาวะแบบต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง