Page 686 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 686
P63
4. ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกันการติดเชื้อ
5. ไม่ใส่ท่อระบายหรือสายสวนโดยไม่จำเป็น
6. ให้สารน้ำและเกลือแร่เท่าที่จำเป็น และรักษาอุณหภูมิของร่างกายในระดับปกติ
7. ประเมินและความคุมอาการปวด หลังผ่าตัดอย่างเหมาะสม
8. ป้องกันการคล่ืนไส้อาเจียน หลังผ่าตัด
9. กระตุ้นและช่วยให้ผู้ป่วยลุกจากเตียงโดยเร็ว
10. ประเมินการปฏิบัติและผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง
จากแนวคิดดังกล่าวกลุ่มงานศัลยกรรมจึงร่วมมือกับสหวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย งานห้องผ่าตัด
งานวิสัญญีพยาบาล งานเภสัชกรรม งานสุขภาพจิต งานกายภาพบำบัด งานโภชนาการ และงานอาชีวอนามัย
พัฒนาโครงการส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงขึ้น โดยมีขั้นตอนในการ
เข้ารับบริการดังต่อไปนี้
1. ผู้ป่วยที่รับได้การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงทุกรายจะถูกส่งให้พบพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วย
ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
2. พยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยลำไส้ใหญ่และทวารหนักจะส่งปรึกษาศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
3. ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนักจะวางแผนการรักษา
4. ผู้ป่วยที่รับได้การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงทุกรายจะพบทีมสหวิชาชีพมะเร็งลำไส้
ใหญ่และไส้ตรง โดยจะจัดให้มีการเข้ากลุ่มในวันพุธบ่ายทุกสัปดาห์ โดยทีมสหวิชาชีพนี้จะมาช่วย
เตรียมความพร้อม และสร้างความเข้าใจ แก่ทั้งผู้ป่วยและญาติ ทั้งในเรื่องของการให้คำปรึกษา
และแนะนำการปฏิบัติตนก่อนผ่าตัด รวมถึงเรื่องทวารเทียมทางหน้าท้อง มีการประเมินและแก้ไข
ภาวะทุพโภชนาการก่อนผ่าตัด
5. วันที่เข้านอนโรงพยาบาลเพื่อเตรียมตัวผ่าตัดทีมวิสัญญีพยาบาลจะมาเยี่ยมเพื่อสร้างความเข้าใจ
อีกครั้งก่อนการผ่าตัดในวันรุ่งขึ้น
6. หลังผ่าตัดทีมสหวิชาชีพจะเข้าเยี่ยมติดตามอาการของผู้ป่วย
7. พยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยลำไส้ใหญ่และทวารหนักติดตามผู้ป่วย หากมีปัญหา หรือจำเป็นต้องเลื่อนนัด
หรือมาก่อนนัด สามารถติดต่อพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้เลย ทำให้ไม่ขาด
การติดตามผู้ป่วย และผู้ป่วยสามารถเข้าถึงทีมการรักษาได้สะดวกขึ้น
ผลการศึกษา
โครงการส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ได้เริ่มติดต่อ
ประสานงานกับทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาลตั้งแต่ปี 2564 และได้เริ่มทำโครงการในปี 2565 จนถึงปัจจุบัน
โดยในปี 2565 มีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักรายใหม่ จำนวน 127ราย แบ่งเป็นนัดมาผ่าตัด 86 ราย
ผู้ป่วยฉุกเฉิน 41ราย ปี 2566 มีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักรายใหม่ จำนวน 154 ราย แบ่งเป็นนัดมา
ผ่าตัด 91ราย ผู้ป่วยฉุกเฉิน 63ราย โดยผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่นัดมาผ่าตัดร้อยละ90 ได้เข้า
ร่วมโครงการนี้