Page 699 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 699

Q11


                     การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ
                               จากการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ งานการพยาบาลผู้ป่วยใน

                                       โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา


                                                                                         นางสาวรัตติกาล สาธุเม
                                                       โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา เขตสุขภาพที่ 1

                                                                                               ประเภทวิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา เป็นโรงพยาบาลชุมชน ปัจจุบันรองรับผู้ป่วย
                  ได้ 25 เตียง ให้การดูแลผู้ป่วยรวม ได้แก่ ผู้ป่วยศัลยกรรม อายุรกรรม สูติกรรม กุมารเวชกรรม หญิงหลังคลอด
                  เป็นต้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อการบริหารยา รักษาสมดุลของน้ำ และ

                  อิเลคโตรไลต์ จากข้อมูลของโรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา พบว่า ปีงบประมาณ 2564-
                  2566 มีจำนวนผู้ป่วยที่จำเป็นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 1,165 , 1,403 และ 2,133 รายตามลำดับ และ
                  มีจำนวนวันนอน 3,286 , 4,189 และ 5,706 วันตามลำดับ คิดเป็นจำนวนวันนอนเฉลี่ย 2.82, 2.99 และ 2.68

                  ตามลำดับ โดยในปีงบประมาณ 2566 มีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำจำนวน 1,484 ราย
                  คิดเป็นร้อยละ 69.57

                         ผลกระทบจากหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความไม่สุขสบาย มีอาการปวดบริเวณ
                  แทงเข็ม หลอดเลือดสูญเสียหน้าที่ เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อ ทั้งการติดเชื้อเฉพาะที่และติดเชื้อใน
                  กระแสเลือด ต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มมากขึ้น (Prangrujee Nark-Im,

                  2020) บางรายอาจเกิดลิ่มเลือด (Thrombosis) ลอยไปอุดหลอดเลือดที่ปอด (Pulmonary embolism) เป็น
                  สาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ บางรายเกิดความวิตกกังวล จากความพยายามในการแทงเส้นเลือดล้มเหลวหลาย

                  ครั้ง (Alexandrou, 2018) นอกจากนี้หลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ให้บริการ
                  คือ ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อระบบการให้บริการของโรงพยาบาลลดลง เกิดการร้องเรียน ส่งผลเสียต่อ
                  ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาล ผู้ปฏิบัติงานเสียขวัญและกำลังใจ (Prangrujee Nark-Im, 2020)

                         ปัจจุบันโรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ยังไม่มีแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดหลอด
                  เลือดดำส่วนปลายอักเสบ ดังนั้นเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายมี
                  ประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนา “แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วน

                  ปลายอักเสบ จากการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ งานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระ
                  เกียรติ ๘๐ พรรษา” โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาการวิจัยแห่งชาติของ
                  ประเทศออสเตรเลีย (NHMRC) (National Health and Medical Research Council, 1999) โดยมุ่งหวังว่า

                  ทีมพยาบาลจะมีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจน เป็นมาตรฐานไปในทิศทางเดียวกัน แก้ไขปัญหาความ
                  หลากหลายในการปฏิบัติงาน ลดอัตราการเกิดหลอดเลือดส่วนปลายอักเสบ ลดจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล

                  ลดค่าใช้จ่าย และพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ ทำให้การบริการพยาบาลมีคุณภาพและมี
                  ประสิทธิภาพมากขึ้น
   694   695   696   697   698   699   700   701   702   703   704