Page 704 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 704

Q16

                  shock ร้อยละ 50.0 และตราการเกิดภาวะ Septic shock และอัตราตาย พบว่า กลุ่มที่ไม่ได้ใช้รูปแบบการ
                  ปฏิบัติการพยาบาลด้วยหลัก 4 S Fast Track ไม่เกิดภาวะ Septic shock ร้อยละ 50.0 และส่วนใหญ่ไม่
                  เสียชีวิต ร้อยละ 62.5 และกลุ่มที่ได้ใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหลัก 4 S Fast Track ส่วนใหญ่ไม่

                  เกิดภาวะ Septic shock ร้อยละ 100 และส่วนใหญ่ไม่เสียชีวิต ร้อยละ95.0
                         4.2 ผลสำเร็จของงานเชิงคุณภาพ
                  ภายหลังการใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหลัก 4 S Fast Track ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อใน

                  กระแสเลือด พยาบาลวิชาชีพมีความรู้ ความมั่นใจ ในการให้การพยาบาลผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น สามารถให้การ
                  ปฏิบัติพยาบาลกับผู้ป่วยเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ถึงแม้ว่าพยาบาลวิชาชีพแต่ละคนจะมีความรู้และ
                  ประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน แต่เมื่อมีรูปแบบในการดูแลผู้ป่วยแบบเดียวกันจะสามารถให้การ
                  ปฏิบัติการพยาบาลกับผู้ป่วยได้เหมือนกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้

                  อภิปรายผล

                         ผลการวิจัยพบว่าหลังการใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหลัก 4 S Fast Track ในผู้ป่วยที่มี
                  ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ช่วยให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะ Septic Shock และมีอัตราตายลดลง จากร้อยละ 37.5
                  เป็นร้อยละ 5.0 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.000) ซึ่งพบว่า อัตราการคัดกรองและ
                  ประเมินผู้ป่วยโดยใช้ SIRS ร่วมกับ SOS Score อัตราการเฝ้าระวังติดตามอาการผู้ป่วยโดยใช้ SOS Score

                  และให้การปฏิบัติการพยาบาลตามระดับคะแนน SOS Score การบันทึกข้อมูลสำคัญ มีความสัมพันธ์กับการ
                  เกิดภาวะ Septic shock และอัตราการตายของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม
                  ชาย โรงพยาบาลวิเชียรบุรี สอดคล้องกับการศึกษาของ น้ำฝน พรหมสูตร (2566) ในการใช้แบบประเมิน SOS
                  Score ต่อทักษะการประเมินของพยาบาลและความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด และ

                  การศึกษาของศศิธร รักษนาเวศ (2563) ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดใน
                  หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลพัทลุง แสดงให้เห็นว่าการคัดกรองและประเมินผู้ป่วยได้รวดเร็ว การให้
                  การพยาบาลตาม 1 Hour Bundle และการเฝ้าระวังติดตามอาการผู้ป่วยการให้การพยาบาลตามระดับ
                  คะแนน SOS Score การบันทึกข้อมูลผู้ป่วยส่งผลให้อัตราการเกิดภาวะ Septic shock และอัตราตายลดลง

                  จึงเป็นบทบาทและหน้าที่ของพยาบาลโดยตรงในการดูแลให้การพยาบาลผู้ป่วยด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง
                  ครบถ้วน ส่งผลให้เกิดคุณภาพและประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย เกิดความปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
                         อภิปรายได้ว่ากลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพทุกคนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการ

                  ดูแลผู้ป่วยแตกต่างกัน ทั้งระดับ Novice จนถึง Expert ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้มีการให้ความรู้ อธิบายทำความ
                  เข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติตามรูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหลัก 4 S Fast Track และมีการนิเทศ
                                                                   กำกับติดตามส่งผลให้พยาบาลวิชาชีพมีความรู้ เกิด
                                                                   ความมั่นใจ และมีทัศนคติเชิงบวกในการใช้รูปแบบ
   699   700   701   702   703   704   705   706   707   708   709