Page 702 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 702
Q14
ผลการใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหลัก 4 S Fast Track ต่อผลลัพธ์การพยาบาล
ในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลวิเชียรบุรี
นางกฤษณา แก้วธไนศวรรย์
โรงพยาบาลวิเชียรบุรี เขตสุขภาพที่ 2
ประเภทวิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ส่งผลให้เกิดการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายที่เป็น
สาเหตุทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อและการทำงานของอวัยวะสำคัญล้มเหลวจนนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด
นับเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขไทย และถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพในแผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
(Service plan) ของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ
1 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลายเป็นข้อมูลที่สำคัญที่สะท้อนถึงคุณภาพในการดูแลผู้ป่วย
โดยสมาพันธ์ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโลก (Global Sepsis Alliance) ระบุว่าตลอดทศวรรษที่ผ่านมาพบ
อัตราการติดเชื้อในกระแสเลือดทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7-8 ต่อปี และอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 30-40
ในกลุ่มประเทศตะวันตก ในแต่ละปีผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดสูงถึง 27-30 ล้านคน และเสียชีวิต 7-9 ล้านคน
เฉลี่ยแล้วทุก 3.5 นาที มีผู้เสียชีวิต 1 คนสอดคล้องกับกระทรวงสาธารณสุขกับหน่วยงานหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดสูงถึงร้อยละ 32 โดยพบผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด
175,000 รายต่อปี และมีผู้ป่วย Sepsis เสียชีวิตประมาณ 45,000 รายต่อปี เฉลี่ยแล้วมีผู้ป่วยเสียชีวิต 5 ราย
ในทุก 1 ชั่วโมง สำหรับจังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งอยู่ในเขตสุขภาพที่ 2 มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อใน
กระแสเลือดชนิดรุนแรงปี 2564-2566 คิดเป็นร้อยละ 39.71, 39.08,34.92 ตามลำดับ (HDC : Health
Data Center) – Dashboard ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2566
โรงพยาบาลวิเชียรบุรี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาด 240 เตียง (M1) ในจังหวัดเพชรบูรณ์ พบอัตราการ
เสียชีวิตด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ปี พ.ศ. 2564 ถึง 2566 คิดเป็นร้อยละ 26.34, 24.68 และ 29.53
ตามลำดับ (HDC : Health Data Center) – Dashboard ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2566 จากสถิติ
ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าปัญหาการติดเชื้อในกระแสเลือดยังคงเป็นปัญหาด้านสาธารณะสุขสำคัญที่คุกคามชีวิต
ของผู้ป่วยทั้งส่งผลกระทบต่อโรงพยาบาลทั้งในด้านคุณภาพการดูแลการรักษาที่ซับซ้อนและภาระค่าใช้จ่ายใน
การรักษาที่สูงย่อมนำไปสู่การสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของประเทศ
การรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจึงนับเป็นเรื่องสำคัญที่มีเป้าหมายหลักร่วมกัน คือ ลดอัตราการ
เกิดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย โดยมุ่งเน้นที่ความรวดเร็วในการคัดกรองอาการผู้ป่วย
ที่แสดงอาการเบื้องต้นให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาทันที ซึ่งพยาบาลเป็นหนึ่งในทีมสุขภาพที่มี
ความสำคัญในดูแลประเมินอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องตั้งแต่แรกรับจากห้องฉุกเฉินจนเข้ารับการ
รักษาในหอผู้ป่วย ดังนั้นพยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการค้นหาผู้ป่วยในระยะแรก (Early detection) ได้
รวดเร็ว และตระหนักถึงความสำคัญแบบมุ่งเป้าหมายอย่างรวดเร็วใน 1 ชั่วโมง (1 Hour Bundle) เพื่อนำ
ผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดตามแนวทางการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันได้มีการนำ
ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมาปรับใช้ให้เหมาะสมในการดูแลรักษาผู้ป่วยในแต่ละ