Page 703 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 703
Q15
บริบทของหน่วยงาน ซึ่งจากการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแส
เลือดในโรงพยาบาลวิเชียรบุรีนั้นพบว่า การปฏิบัติการพยาบาลยังมีความหลากหลายตามประสบการณ์ของ
แต่ละคน รวมทั้งยังขาดการส่งเสริมบทบาทพยาบาลในการค้นหาผู้ป่วยระยะแรก การเฝ้าระวังและการติดตาม
อาการผู้ป่วยไม่เป็นไปตามมาตรฐาน การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดจึงเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องได้รับ
การพัฒนาในการดูแลให้มีประสิทธิภาพ
ผู้วิจัยในบทบาทของหัวหน้าหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย และเลขา Service plan sepsis ของ
โรงพยาบาลวิเชียรบุรี ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยและเล็งเห็นแนวทางการส่งเสริมศักยภาพด้าน
การพยาบาล โดยการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลวิเชียรบุรี
โดยการศึกษาผลการใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหลัก 4 S Fast track ต่อผลลัพธ์การพยาบาลใน
ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลวิเชียรบุรี
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การพยาบาลของการใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหลัก 4 S Fast
track ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลวิเชียรบุรี
2. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหลัก 4 S Fast Track ไปใช้
ของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายโรงพยาลวิเชียรบุรี
วิธีการศึกษา
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) โดยใช้แนวคิดโดนาบิเดี่ยน
(Donabidian) ที่ให้กรอบการทำงานสำหรับตรวจสอบบริการด้านสุขภาพและการประเมินคุณภาพการดูแล
สุขภาพ ที่เสนอว่าการประเมินคุณภาพการบริการควรคำนึงถึงโครงสร้าง (structure) กระบวนการ
(process) และผลลัพธ์ (outcome) โครงสร้างสะท้อนคุณลักษณะของการบริการ ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
การเลือกกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกอย่างเจาะจง (Purposive sampling) คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม
G*Power กำหนดให้ Effect Size = 0.5, Power = 0.8, α = 0.05, df = 1 ได้กลุ่มตัวอย่าง 32 ราย จึง
บวกเพิ่ม 20% = 6 ราย เพื่อป้องกันการ Drop Out ได้กลุ่มตัวอย่าง 40 รายต่อกลุ่ม รวมกลุ่มตัวอย่าง 80
ราย เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม ไม่ได้ใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหลัก 4 S
Fast Track กลุ่มทดลอง ใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหลัก 4 S Fast Track โดยการดำเนินการวิจัย
แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
1) ระยะเก็บข้อมูลกลุ่มควบคุม คือ การเก็บข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดก่อนใช้รูปแบบการปฏิบัติการ
พยาบาลด้วยหลัก 4 S Fast Track การดำเนินการระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2566 ถึง ธันวาคม 2566
2) ระยะสร้างคู่มือรูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดด้วยหลัก 4 S Fast
track และนำมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล ดำเนินการระหว่างเดือน มกราคม 2567 ถึง กุมภาพันธ์ 2567
3) ระยะประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหลัก 4 S Fast track ในผู้ป่วยติด
เชื้อในกระแสเลือด เดือน มีนาคม 2567
ผลการศึกษา
4.1 ผลสำเร็จของงานเชิงปริมาณ
ในการศึกษาครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายจำนวน 10 คน และผู้ป่วย
ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่เข้ามานอนรักษาตัวในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย จำนวน 80 คน กลุ่มที่ไม่ได้ใช้
และกลุ่มที่ได้ใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหลัก 4 S Fast Track กลุ่มละ 40 คน อั เกิดภาวะ Septic