Page 700 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 700

Q12





                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ จากการ
                  ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ งานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา
                         2. เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ

                  จากการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ งานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา

                  วิธีการศึกษา
                         การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการ
                  พยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ จากการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ งานการ
                  พยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา โดยใช้กรอบแนวคิดของออสเตรเลียการ

                  พัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาการวิจัยแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย (NHMRC) (National Health and
                  Medical Research Council, 1999) ซึ่งมีขั้นตอนครอบคลุมรายละเอียดของกิจกรรมที่ควรปฏิบัติในการ
                  พัฒนาแนวปฏิบัติ 7 ขั้นตอน ดังนี้

                         1. การกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยค้นหาปัญหาการปฏิบัติและปัญหาการใช้แนว
                  ปฏิบัติเดิม หรือมีการปฏิบัติที่หลากหลาย จากการสนทนากับผู้เกี่ยวข้อง การรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการ
                  ปฏิบัติและวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวชี้วัด นำมากำหนดหัวข้อการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยที่
                  ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย
                         2. การกำหนดทีมพัฒนา เพื่อทำหน้าที่ยกร่างแนวปฏิบัติทางคลินิกการพยาบาล ซึ่งเป็นพยาบาล

                  ตัวแทนจากทุกแผนกที่มีความชำนาญในการแทงเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย และพยาบาล
                  ควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล จากนั้นแต่งตั้งคณะกรรมการ IV Care Team โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิม
                  พระเกียรติ ๘๐ พรรษา จำนวน 5 คน ได้แก่

                         1. นางสาวกาญจนา ตั้งต่อสุจริต พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล และ
                  ICWN ของโรงพยาบาล
                         2. นางสาวศันสนีย์ สุปัญญาวิโรจน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้าหน่วยงานปฐมภูมิและองค์รวม
                         3. นางสาวรัตติกาล สาธุเม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้างานหอผู้ป่วยใน

                         4. นางสาวพิมฤดี จตุรพักตร์คีรี พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ พยาบาล IC ประจำห้องอุบัติเหตุและฉุกฉิน
                         5. นางสาวจุฑามาศ พรหมทา พยาบาลวิชาชีพ พยาบาล IC ประจำหอผู้ป่วยใน
                         3. กำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขตและผลลัพธ์ โดยกำหนดประสงค์ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้เพื่อให้
                  บุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง และผู้รับบริการปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

                  จากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย
                         4. การสืบค้นและประเมินคุณค่าหลักฐานเชิงประจักษ์ กำหนดคำสำคัญในการสืบค้น กำหนดแหล่ง
                  สืบค้น คัดเลือกงานวิจัย พร้อมกำหนดระดับความน่าเชื่อถือและคุณภาพของหลักฐานเชิงประจักษ์ (level of
                  evidence) ตามมาตรฐาน Joanna Briggs Institute: JBI ปี ค.ศ. 2014 เพื่อนำมาวิเคราะห์ผล

                         5. การยกร่างแนวปฏิบัติทางคลินิก การสรุปสาระสำคัญของแนวปฏิบัติ จัดทำหมวดหมู่ จัดทำรูปเล่ม
                  และจัดทำแบบประเมินการใช้แนวปฏิบัติ
   695   696   697   698   699   700   701   702   703   704   705